ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายในภาคอุตสาหกรรมที่อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอันตรายของสารเคมีและวัตถุอันตราย จากการเกิดอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล หรือการเกิดระเบิด หรือเพลิงไหม้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดทำฉลากและเอกสารความปลอดภัยเพื่อสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งระบบการจำแนกและการจัดทำฉลากสารเคมีตามข้อกำหนดของสหประชาชาติ (GHS) เป็นระบบที่เกิดขึ้นตามข้อกำหนดของสหประชาชาติ ซึ่งมีขอบข่ายของระบบ GHS ที่ครอบคลุมสารเคมีอันตรายทุกชนิด สารละลายเจือจาง (Dilute Solutions) และสารผสม (Mixture) ของสารเคมี แต่ไม่เกี่ยวข้องกับ เภสัชภัณฑ์ (ยารักษาโรค) สารเติมแต่งในอาหาร (Food Additives) เครื่องสำอาง และสารป้องกันศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในอาหาร ณ จุดที่มีการนำสิ่งของดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจ ในอดีตนั้นประเทศไทยอ้างอิงตามระบบของอเมริกา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีจึงคุ้นเคยกับคำว่า MSDS แม้ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้เปลี่ยนมาใช้เกณฑ์อ้างอิงตามระบบ GHS (Globally Harmonised System) และเปลี่ยนมาเรียกเอกสารข้อมูลความปลอดภัยว่า SDS แล้ว อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ ก็ยังมีการใช้คำทั้งสองปะปนกันอยู่
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 กำหนดให้มีการจัดทำฉลากและ SDS เพื่อสื่อสารความเป็นอันตรายและสอดคล้องกับระบบ GHS เพื่อให้ผู้ดูแลรับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบเทคนิคและฝึกจัดทำฉลากและ SDS ให้สอดคล้องตามกฎหมายและระบบ GHS เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดทำฉลากและ SDS อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติการจัดทำฉลากและ SDS สำหรับสื่อสารความเป็นอันตรายอย่างถูกต้อง
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมทราบถึงแนวทางในการจัดทำฉลากและ SDS สำหรับสื่อสารความเป็นอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อการอบรม
ที่มาและความสำคัญของระบบ GHS
จุดมุ่งหมายในการจัดทำระบบ GHS
สถานประกอบกิจการที่เข้าข่ายต้องจัดทำฉลากและ SDS เพื่อสื่อสารความเป็นอันตรายตามกฎหมาย
หลักเกณฑ์การจำแนกประเภทสารเคมีตามระบบ GHS
การสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมี
หลักการจัดทำฉลากสารเคมีตามระบบ GHS
องค์ประกอบของ GHS
การฝึกจัดทำ SDS เพื่อสื่อสารความเป็นอันตราย
กลุ่มเป้าหมาย
พนักงานทุกระดับ หัวหน้างาน หัวหน้าแผนก ผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย
ผู้บริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ผุ้ที่ปฎิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
หลักสูตร 2 วัน
การวัดผล
ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
เนื้อหาการฝึกอบรม
Globally Harmonised System for Classification and labeling of Chemicals (GHS)
การสื่อสารความเป็นอันตราย: เอกสารความปลอดภัย (SDS)
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย
การแต่งกายผู้เข้าอบรม
แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้
ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี