ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. ๒๕๖๔
“เครื่องจักร” หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง รอก สายพาน เพลา เฟือง หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งเครื่องมือกล
“เครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร” หมายความว่า ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบหรือติดตั้งไว้บริเวณที่อาจเป็นอันตรายของเครื่องจักร เพื่อช่วยป้องกันอันตรายแก่บุคคลที่ควบคุมหรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง
“เครื่องปั๊มโลหะ” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้สำหรับการปั๊ม ตัด อัด เฉือน หรือขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะหรือวัสดุอื่น
นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑๓ ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้าเครื่องเชื่อมก๊าซ หรือ เครื่องจักรชนิดอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจำการใช้งานได้โดยสภาพ นายจ้างต้องใช้ลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงานของเครื่องจักร การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างอุปกรณ์ การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของเครื่องจักรนั้น โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรแต่ละประเภทตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากเครื่องจักร
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ทราบถึงวิธีปฏิบัติงานกับเครื่องจักรได้อย่างปลอดภัย
เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ ความปลอดภัยในการปฎิบัติงานกับเครื่องจักรกล
เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
หัวข้อการอบรม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเจีย เครื่องตัด เครื่องไสเครื่องตัดโลหะ เครื่อง CNC หรือเครื่องจักร
กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง
บทบาทหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ประเภทของเครื่องจักร หลักการทำงานเพื่อความปลอดภัย
สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฎิบัติงาน
การตรวจสภาพของครื่องจักรความพร้อมก่อนการใช้งาน
การป้องกันและการควบคุมอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ใช้งานเครื่องจักร เครื่องกลึง เครื่อง CNC
ผู้ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการใช้เครื่องจักรภายในโรงงาน
พนักงานทั่วไป, พนักงานใน Line ผลิต
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ หัวหน้างานควบคุมงาน
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
หลักสูตร 1 วัน (08.00 – 17.00 น.)
การวัดผล
ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
เนื้อหาการฝึกอบรม
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. ๒๕๖๔
ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร
สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากการอบรมหลักสูตร
วุฒิบัตรของผู้เข้าอบรมหลักสูตร
ความรู้ความสามารถนำไปประยุกใช้
คู่มือประกอบการฝึกอบรม
ใบประเมินวัดผลการทำข้อสอบก่อนอบรมและหลังอบรม
รายงานการฝึกอบรมแบบรูปเล่ม
การแต่งกายผู้เข้าอบรม
แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้
ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี