Category: หลักสูตรความปลอดภัยด้านอื่นๆ

  • หลักสูตร : Kaizen เพื่อการเพิ่มผลผลิต อบรม Public 2,000 บาท/ท่าน อบรมด่วน

    หลักสูตร : Kaizen เพื่อการเพิ่มผลผลิต อบรม Public 2,000 บาท/ท่าน อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    องค์กรของท่านยังทำงานที่เหนื่อยและหนัก แต่ยังได้ผลงานไม่คุ้มค่า มีการยึดติดกับวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ โดยไม่คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอบรมพัฒนาพนักงาน หากเป็นเช่นนั่นแสดงว่าในองค์กรของท่านไม่ รู้จัก “ไคเซ็น”และไม่ได้นำไคเซ็นมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในองค์กร ซึ่งหากองค์กรได้นำเอาวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องมาใช้แล้วปัญหาในการทำงานจะเกิดความผิดพลาดน้อยลง
    ดังนั้น หลักสูตร “การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ( KAIZEN)” จึงเป็นเหมือนเข็มทิศชี้ให้องค์กรของท่าน เห็นถึง การเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการผลิต แนวทางในการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงาน  เพื่อหยุด  ลด และ เปลี่ยนแปลง วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เพราะไคเซ็นจะบอกให้ท่านรู้ว่ายังคงมี “เรื่องที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ” อยู่อีกมากในกระบวนการทำงานในองค์กรของท่าน เพื่อการปรับปรุงองค์กรของท่านอย่างสูงสุด 

    วัตถุประสงค์

    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองเห็นปัญหาและแนวทางการปรับปรุงงานแบบไคเซ็นด้วยตัวเอง เพื่อมาใช้ในองค์กรได้อย่างถูกต้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร
    ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจถึงหลักการและวิธีการในการปรับปรุงงานทั่วทั้งองค์กร ( KAIZEN)
    ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจถึงเทคนิคและเครื่องมือที่จะช่วยให้การปรับปรุงงานแบบไคเซ็นให้ประสบผลสำเร็จและสามารถนำมาใช้กับองค์กรได้จริง

    หัวข้อการอบรม
    ไคเซ็น (Kaizen) คืออะไร?
    หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
    ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
    เทคนิคในการมองปัญหาแนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
    เทคนิค การเพิ่มผลผลิต แก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์
    Workshop ไคเซ็น (Kaizen)
    กลุ่มเป้าหมาย
    พนักงานทุกระดับ
    ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
    ระยะเวลาในการอบรม
    หลักสูตร 1 วัน ทฤษฏี 6 ชม.(09.00 – 16.00 น.) 
    การวัดผล  
    ผู้เข้าอบรมต้องเข้ารับการอบรมให้ครบจำนวนชั่วโมงเรียน หากไม่ครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนดจะไม่ได้รับวุฒิบัตร
    Pretest – Post  test 

    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงาน ผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    การบรรยาย และกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร Behavior Based Safety การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย อบรม BBS Pubilc 2,000 บาท/ท่าน อบรม Inhouse 17,500/40ท่าน อบรมออนไลน์

    หลักสูตร Behavior Based Safety การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย อบรม BBS Pubilc 2,000 บาท/ท่าน อบรม Inhouse 17,500/40ท่าน อบรมออนไลน์

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย และการจัดการพฤติกรรมเสี่ยง  เริ่มจากการตกลงร่วมกันว่าเราจะห่วงใย ดูแลซึ่งกันและกัน ไม่อยากให้ใครบาดเจ็บ เจ็บป่วย ทำกิจกรรมสังเกตุพฤติกรรมความปลอดภัย  โดยการเข้า ทัก ชม เตือน ด้วยถ้อยคำ จังหวะเวลา ความถี่อย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัย ซึ่งต้องมีหลักการสังเกตุสำหรับตัดสินใจเข้าแสดงความห่วงใยอย่างถูกต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมแต่ละครั้ง มีการวัดผลจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย และการคงพฤติกรรมที่ปลอดภัย กรณีที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของบางคนได้ การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย, Behavior-based safety (BBS) เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับ  อย่างกว้างขวางว่าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บได้จริง และช่วยส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรม  ความปลอดภัยในองค์กร เมื่อพนักงานทุกคนเข้าใจหลักการและนําไป BBS ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง BBS อาศัยหลักการทางจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่นําไปสู่ความปลอดภัย 
    วัตถุประสงค์
    เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและจิตสํานึกที่ดีในองค์กร 
    เพื่อวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย
    เพื่อให้ทราบเทคนิคในการสื่อสาร การจูงใจ ให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย
    เพื่อให้ทราบถึงหลักการของ BBS ความสำคัญ และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

    หัวข้อการอบรม 
    BBS คือ อะไร, ทำไมต้อง BBS, พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และความผิดพลาดของมนุษย์(Human factor and error)
    การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยบุคลิกภาพ (Personality)
    การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย (C.O.A.C.H process )
    เทคนิคการสื่อสาร และจูงใจ (Communication and motivation)
    เทคนิคการสังเกต (BBSO Process) และควบคุมพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และการแก้ปัญหา
    การริเริ่ม (BBS initiative) และนำ BBS ไปใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
    กิจกรรม  (workshop)
    กลุ่มเป้าหมาย
    พนักงานทุกระดับ หัวหน้างาน  หัวหน้าแผนก ผู้จัดการ
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  1 วัน (09.00 – 16.00 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60  จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย, Behavior-based safety (BBS)
    บรรยาย, แลกเปลี่ยนความคิดเห็น, ฝึกปฏิบัติ และกิจกรรมกลุ่ม
    กิจกรรม และทดลองฝึกปฏิบัติ (workshop and practice)
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 50 ท่าน ต่อรุ่น Construction Site Safety อบรมด่วน อบรมออนไลน์

    ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 50 ท่าน ต่อรุ่น Construction Site Safety อบรมด่วน อบรมออนไลน์

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    งานก่อสร้างในประเทศไทยได้ก้าวรุดหน้า และเพิ่มปริมาณขึ้นมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเงาตามการปฏิบัติงานในงานก่อสร้าง คืออุบัติเหตุซึ่งการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินอย่างประมาณค่ามิได้ความสูญเสียจากงานก่อสร้างในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ และมีคนงานจำนวนมากที่ยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากงานก่อสร้าง ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุและการลดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งและให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้น 
    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงอันตรายในงานปฏิบัติการและองค์ประกอบความปลอดภัยในงานก่อสร้าง


    อุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็ด บ่อยครั้งที่เราพบว่า สาเหตุนั้นมาจากความไม่รู้ ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ขาดความรอบคอบหรือเกิดจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุในแต่ละครั้งทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก มาย รวมทั้งสภาพจิตใจของพนักงาน ในปัจจุบันมีกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงานมากมาย เพื่อป้องกัน ลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสีย จากการทำงาน  และกิจกรรม KYT เป็นกิจกรรมที่เน้นกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักการของปะเทศญี่ปุ่นที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลาย
    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันอุบัติเหตุในสถานประกอบกิจการ
    เพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย
    เพื่อให้พนักงานเข้าใจหลักการและวิธีการ และนำ KYT ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

    Job Safety Analysis หรือ JSA จัดเป็นเทคนิคพื้นฐานของการทำงานอย่างปลอดภัย และเป็นที่มาของประเมินความเสี่ยงประเภท เพื่อสร้างความเข้าใจให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมด เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ให้กับหัวหน้างาน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดการปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างปลอดภัย โดยใช้เทคนิคและหลักการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย อันจะเป็นแนวทางและวิธีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานต่อไป
    วัตถุประสงค์
    ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความสามารถการประเมินความเสี่ยงโดยเทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมทราบขั้นตอนวิธีการ และเทคนิคของการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

    หัวข้อการอบรม
    ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
    สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
    องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
    ความปลอดภัยในสถานที่งานก่อสร้าง
    ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร
    การปฏิบัติงานบนที่สูง working at heights
    ระบบป้องกันของตก การปิดกั้นควบคุมพื้นที่เขตก่อสร้าง-เขตอันตราย
    ความปลอดภัยส่วนบุคคล
    การควบคุมอุบัติเหตุและการขออนุญาตเข้าทำงาน control measure and permit to work
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ที่ปฎิบัติงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
    หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน 
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร 1 วัน (09.00 – 16.00 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60  จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พศ. 2551
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร JSA การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย 40 คน/รุ่น อบรมด่วน

    หลักสูตร JSA การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย 40 คน/รุ่น อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    JSA หรือ Job Safety Analysis คือ กระบวนการวิเคราะห์งานเพื่อระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการทำงาน และกำหนดวิธีป้องกันที่เหมาะสม ก่อนเริ่มทำงานจริง
    หลักสูตร JSA จะเน้นการฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจ
    วิธีวิเคราะห์งานเป็นขั้นตอน
    การตรวจสอบความเสี่ยง
    การกำหนดมาตรการป้องกันที่ปลอดภัย
    เพื่อลดความเสี่ยงในการทำงานและสร้างความปลอดภัยในองค์กร

    🎯 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร JSA
    ส่งเสริมให้พนักงานรู้จักวิเคราะห์งานก่อนปฏิบัติจริง
    ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง
    สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
    พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ และสื่อสารเรื่องความปลอดภัยในทีม

    ⚙️ เนื้อหาหลักของ JSA Course
    ความหมายและความสำคัญของ Job Safety Analysis
    ขั้นตอนการจัดทำ JSA:
    แยกงานออกเป็นขั้นตอนย่อย
    วิเคราะห์และระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน
    กำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงอย่างมีระบบ
    ฝึกปฏิบัติการจัดทำเอกสาร JSA
    ตัวอย่างกรณีศึกษา (Case Study)
    เทคนิคการนำเสนอและสื่อสาร JSA ให้ทีมเข้าใจ

    💡 ประโยชน์ที่องค์กรได้รับ
    ลดอุบัติเหตุในสถานที่ทำงานอย่างมีระบบ
    พนักงานทำงานอย่างระมัดระวังและมีแบบแผน
    สร้างมาตรฐานความปลอดภัยร่วมกันในองค์กร
    ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในด้านความปลอดภัย

    🔥 สรุปสั้น ๆ
    JSA คือหัวใจของการทำงานปลอดภัย
    ก่อนเริ่มงาน พนักงานต้อง วิเคราะห์ความเสี่ยงในแต่ละขั้นตอน แล้วกำหนดมาตรการลดอันตรายเพื่อให้การทำงานปลอดภัยสูงสุด


    อุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็ด บ่อยครั้งที่เราพบว่า สาเหตุนั้นมาจากความไม่รู้ ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ขาดความรอบคอบหรือเกิดจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุในแต่ละครั้งทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก มาย รวมทั้งสภาพจิตใจของพนักงาน ในปัจจุบันมีกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงานมากมาย เพื่อป้องกัน ลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสีย จากการทำงาน  และกิจกรรม KYT เป็นกิจกรรมที่เน้นกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักการของปะเทศญี่ปุ่นที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลาย
    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันอุบัติเหตุในสถานประกอบกิจการ
    เพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย
    เพื่อให้พนักงานเข้าใจหลักการและวิธีการ และนำ KYT ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

    Job Safety Analysis หรือ JSA จัดเป็นเทคนิคพื้นฐานของการทำงานอย่างปลอดภัย และเป็นที่มาของประเมินความเสี่ยงประเภท เพื่อสร้างความเข้าใจให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมด เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ให้กับหัวหน้างาน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดการปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างปลอดภัย โดยใช้เทคนิคและหลักการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย อันจะเป็นแนวทางและวิธีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานต่อไป
    วัตถุประสงค์
    ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความสามารถการประเมินความเสี่ยงโดยเทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมทราบขั้นตอนวิธีการ และเทคนิคของการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

    หัวข้อการอบรม
    วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA)
    ขั้นตอนและวิธีการ วิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
    บันได 4 ขั้น ของการ JSA
     5 W 1H
    ค้นหาอันตรายที่แฝงอยู่ในแต่ละขั้นตอน (Identify )
    การพัฒนาเพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหา ( Develop )
    หลักการแก้ไขปัญหาขจัดหรือลดอันตราย
    การควบคุมที่แหล่งเกิดอันตราย ( Source)
    การควบคุมที่ผ่านทาง (Path )
    การควบคุมที่ตัวบุคคล ( Receiver )
    การกำหนดมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
    ฝึกการประเมินความเสี่ยงและการป้องกันอันตรายให้ห่างไกลจากออฟฟิศ ซินโดรม
    กลุ่มเป้าหมาย
    หัวหน้างาน วิศกรผู้ควบคุมงาน, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
    ผู้ที่สนใจในหลักสูตรและผุ้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  1  วัน (09.00 – 16.00 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60  จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย JSA
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร KYT การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Kiken Yoshi Training )อบรมด่วน อบรมออนไลน์ อบรม Pubilc ท่านละ 2,000 บาท

    หลักสูตร KYT การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Kiken Yoshi Training )อบรมด่วน อบรมออนไลน์ อบรม Pubilc ท่านละ 2,000 บาท

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    KYT Course ย่อมาจาก “Kiken Yochi Training”
    เป็นหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับ การคาดการณ์และป้องกันอันตรายล่วงหน้า ก่อนเริ่มทำงาน

    📌 ความหมายของ KYT
    Kiken (危険) = อันตราย
    Yochi (予知) = การคาดการณ์
    Training = การฝึกอบรม
    รวมกันคือ การฝึกทักษะสังเกตและคาดการณ์อันตรายก่อนเกิดเหตุ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะในสายงานโรงงาน อุตสาหกรรม การก่อสร้าง และงานที่มีความเสี่ยง

    💡 จุดประสงค์ของ KYT Course
    ฝึกพนักงานให้สามารถมองเห็นอันตรายที่ซ่อนอยู่
    คิดวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนลงมือปฏิบัติงาน
    เสริมสร้างนิสัย “ระมัดระวัง” และ “สื่อสาร” ด้านความปลอดภัยในทีม
    ลดอุบัติเหตุจากความประมาทและเหตุการณ์ไม่คาดคิด

    🏭 เนื้อหาหลักใน KYT Course
    หลักการสังเกตสภาพแวดล้อมเพื่อหาความเสี่ยง
    เทคนิคตั้งคำถามว่า “อะไรคืออันตราย?”
    การวิเคราะห์และคาดการณ์ความเสี่ยงจากเหตุการณ์สมมติ
    การเสนอวิธีป้องกันและแก้ไข
    การทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัยในทีม

    🔥 สรุปสั้น ๆ
    KYT คือการฝึกพนักงานให้ รู้จักคาดการณ์และจัดการความเสี่ยง ก่อนที่อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น เป็นหลักสูตรที่โรงงานญี่ปุ่นนิยมใช้มาก และปัจจุบันแพร่หลายทั่วโลก โดยเน้นภาพประกอบและการฝึกคิด วิเคราะห์ร่วมกันในทีม!


    อุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็ด บ่อยครั้งที่เราพบว่า สาเหตุนั้นมาจากความไม่รู้ ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ขาดความรอบคอบหรือเกิดจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุในแต่ละครั้งทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก มาย รวมทั้งสภาพจิตใจของพนักงาน ในปัจจุบันมีกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงานมากมาย เพื่อป้องกัน ลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสีย จากการทำงาน  และกิจกรรม KYT เป็นกิจกรรมที่เน้นกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักการของปะเทศญี่ปุ่นที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลาย
    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันอุบัติเหตุในสถานประกอบกิจการ
    เพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย
    เพื่อให้พนักงานเข้าใจหลักการและวิธีการ และนำ KYT ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

    หัวข้อการอบรม
    ความหมายและความสำคัญของการฝึกให้ระวังอันตราย ( KYT )
    วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการหยั่งรู้ระวังอันตราย KYT
    ความหมายของ KYT (K-Kiken,Y-Yochi,T-training)
    ความหมายของการทำงานด้วยใจรัก
    การสร้างจิตสำนึกด้วยความปลอดภัยในการทำงานเพื่อลดอุบัติเหตุ
    ความหมายของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน Incident , Accident  , Near Miss
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ ความสูญเสียทางตรง, ความสูญเสียทางออ้อม
    ขั้นตอนของกิจกรรมการฝึกให้ระวังอันตราย ( KYT )
    ฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มการฝึกให้ระวังอันตราย ( KYT )
    ประเภทของ KYT ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน KYT  4 ยก
    รูปภาพสื่อสารถึงความปลอดภัย
    การตั้งสโลแกนโดยเลือกมาตรการป้องกันที่ดีที่สุด ทำและจำได้ง่าย … ตะโกนเตือนตนก่อนทำงาน
    กลุ่มเป้าหมาย
    พนักงานทุกระดับ
    ผู้ที่สนใจในหลักสูตร
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  1  วัน (09.00 – 16.00 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60  จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    KYT เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร การจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน อบรม Public 3,000 บาท แบบ Inhouse 30 ท่าน อบรมด่วน

    หลักสูตร การจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน อบรม Public 3,000 บาท แบบ Inhouse 30 ท่าน อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กำหนดให้นายจ้างจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีที่สภาวะการทำงาน ในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมง ตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
    (๑)  นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน
    (๒)  การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)
    (๓)  การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)
    (๔)  หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง

    ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการแล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ
    ข้อ ๔ ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยินโดยให้ดำเนินการ ดังนี้
    – ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric sting) แก่ลูกจ้างที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพ การได้ยินของลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
    – แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ
    – ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ กรณีพบว่าลูกจ้างมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นไปตามข้อ ๖
    ข้อ ๖ หากผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน พบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่สิบห้าเดซิเบลขึ้นไปที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด
    ข้อ ๗ ให้นายจ้างจัดทำและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ในแต่ละพื้นที่ เกี่ยวกับผลการตรวจวัดระดับเสียง ติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง
    ข้อ ๘ ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญ ของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุม ป้องกัน และการใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแก่ลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป
    ข้อ ๙ ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง
    ข้อ ๑๐ ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๑๐ เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าห้าปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
    วัตถุประสงค์
    เพื่อผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
    เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้พนักงานเกิดการสูญเสียการได้ยิน
    เพื่อให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากเสียง ตลอดจะการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกต้อง

    หัวข้อการอบรม
    ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
    นโยบายมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
    หน้าที่รับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
    การสำรวจระดับเสียงในพื้นที่ทำงาน และการเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)
    การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)
    การตรวจประเมินสมรรถภาพการได้ยิน
    การใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการป้องกัน
    มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
    แนวทางควบคุมและป้องกัน
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน ผู้ที่สนใจ
    ระยะเวลาในการอบรม  
    หลักสูตร 1  วัน  (09.00 – 16.00 น.) 
     การวัดผล            
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผลการเข้าอบรม โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60   จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 
    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน 40 ท่าน /รุ่น อบรมด่วน อบรมออนไลน์

    หลักสูตรการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน 40 ท่าน /รุ่น อบรมด่วน อบรมออนไลน์

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การสร้างความตระหนักในความปลอดภัย (Safety awareness) ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ การสร้างความตระหนักเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมทัศนะคติที่ดีในเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่พนักงานระดับล่างสุดจนถึงผู้บริหารสูงสุดในองค์กร นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสำคัญของกระบวนการบริหารความปลอดภัยในการทำงานทั้งหมด  เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์ การที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งใดย่อมมีสาเหตุมาจากทัศนคติ มุมมองและความรู้สึกต่อประเด็นหรือสิ่งนั้นๆ   ดังนั้นการอบรม รณรงค์ส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงานก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานใดๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้อย่างยั่งยืน
     
    วัตถุประสงค์
    เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสำนึกที่ดีของสมาชิกในองค์กร อันเป็นหัวใจหลักของการวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงความสูญเสียและผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัย

    หัวข้อการอบรม
    พื้นฐานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยคำจำกัดความ Incident, Near miss, Accident
    โครงสร้างสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
    ผลกระทบและความสูญเสียต่างๆความสูญเสียทางตรงความสูญเสียทางอ้อม
    เทคนิคการทำอุบัติเหตุ เป็น ศูนย์ Safety Patrol, Safety Talk, Safety week, Safety Program by JSA & KYT
    กรณีศึกษา เหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการทำงาน วิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางป้องกันแก้ไขเชิงรุก
    การทำงานด้วยใจ กับการทำงานด้วยใจไม่รัก
    บทบาทของผู้บริหาร และพนักงานในระบบการบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
    การปลุกพลัง การฝังจิตสำนึก การสร้างทัศนคติ
    การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
    การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้บริหาร ผู้จัดการ. หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน  วิศวกร /  และพนักงานทุกหน่วยงาน
    ระยะเวลาในการอบรม    
    หลักสูตร 1  วัน  (09.00 – 16.00 น.)
    การวัดผล          
    ผู้เข้าอบรมต้องอบรมครบ 100% ของชั่วโมงเรียน
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    ความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
    5 ส.
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมความปลอดภัย 40ท่าน /รุ่น อบรมด่วน อบรมออนไลน์

    หลักสูตร ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมความปลอดภัย 40ท่าน /รุ่น อบรมด่วน อบรมออนไลน์

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    จากการที่อุตสาหกรรมในปัจจุบันต้องอาศัยเครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ซึ่งหากเครื่องจักรเกิดการขัดข้องเดินไม่เต็มสมรรถนะ หรือหยุดเสียหายเหนือการคาดการณ์ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งมอบที่ล่าช้าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานอันเนื่องมาจากการควบคุมเครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการป้องกันเพื่อไม่ให้เครื่องจักรขัดข้อง หรือหยุดโดยการใช้ระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อให้เครื่องจักรมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรจะเน้นการวางแผน PM (Preventive Maintenance) จากข้อมูลและประวัติเครื่องจักรเพื่อให้แผน PM มีความแม่นยำคาดการณ์ได้
     
    วัตถุประสงค์

    เพื่อให้พนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจเช็คและบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
    สามารถปฏิบัติงานโดยใช้เครื่องมือและเครื่องจักรได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและมีประสิทธิ์ภาพ
    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ

    หัวข้อการอบรม
    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมความปลอดภัย &อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับงานวิศวกรรม
    การใช้เครื่องจักรอย่างปลอดภัย
    แนวทางในการป้องกันทางด้านวิศวกรรม
    การตรวจเช็คและการบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร
    กลุ่มเป้าหมาย
    ระดับหัวหน้างาน และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
    ระยะเวลาในการอบรม
    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) 
    การวัดผล           
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผลการเข้าอบรม โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60   จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมความปลอดภัย
    กฎกระทรวง กำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรความปลอดภัยสำหรับลูกจ้างทั่วไป ฯ ตาม พรบ. 2554 15,500 /รุ่น อบรม พรบ.ลูกจ้างใหม่ ท่านละ 1,500 อบรมด่วน อบรมภาษาอังกฤษ

    หลักสูตรความปลอดภัยสำหรับลูกจ้างทั่วไป ฯ ตาม พรบ. 2554 15,500 /รุ่น อบรม พรบ.ลูกจ้างใหม่ ท่านละ 1,500 อบรมด่วน อบรมภาษาอังกฤษ

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    โดยที่พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา16 กำหนดให้อธิบดีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้าง ระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคน  กรณีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน โดยมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ( วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 ) โดยมีหลักเกณฑ์ให้ผู้จัดฝึกอบรมต้องปฎิบัติ
    1. จัดให้ผู้เข้าอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร
    2. จัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้อบรมไม่เกิน 60 คน
    3. จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
    4. ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านฝึกอบรม ซึ่งมี ทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรม พร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทำการอบรมไว้ในสถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

    วัตถุประสงค์

    เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัย อาชีอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายความปลอดภัย
    ให้ความรู้ความเข้าใจ ในข้อบังคับ ว่าด้วยความปลอดภัย ฯ สามารถปฎิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
    เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ของสถานประกอบการ

    หัวข้อการอบรม

    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฎิบัติ
    ข้อบังคับว่าด้วยขั้นตอนการพิจารณาโทษทางวินัย
    ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    คุ่มือข้อบังคับของบริษัทนั้นๆ
    กลุ่มเป้าหมาย

    หัวหน้างาน พนักงานผู้ที่ปฎิบัติงานงานเกี่ยวกับ Office
    พนักงาน Office พนักงานที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ ผู้บริหาร  
    ระยะเวลาในการอบรม

    หลักสูตร 1 วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    การวัดผล
    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการอบรม
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี