ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
Fire Protection System
บริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ แอนด์ เทรนนิ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตามประกาศใช้กฎหมายใหม่ของกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11 สำหรับ ผู้ทดสอบเครื่องจักร (ลิฟต์,เครื่องจักรสำหรับยกขนขึ้นทำงานบนที่สูง,รอก) ปั้นจั่น, หม้อน้ำ,หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน,ภาชนะรับแรงดัน ตามกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๖๔
การตรวจสอบรอกโซ่มือสาว และรอกโยกโซ่
การตรวจสอบลักษณะโดยทั่วไปและการใช้งานรอกโซ่มือสาว รอกโยกโซ่ การตรวจสภาพ รอกโซ่มือสาว ก่อนนำมาใช้งาน แต่จะมีความแตกต่างบ้างสำหรับรอกมือสาว กับ รอกโยกโซ่ หรือ รอกกำมะลอ ก่อนการใช้รอกโซ่ ควรตรวจดูสภาพโซ่ ดูการสึกหรอและมีการทาสารหล่อลื่น ตรวจการทำงานของเบรค โดยการยกของขึ้นและปล่อยลงในช่วงระยะสั้น ๆ 2-3 ครั้ง เฟืองของเบรคจะมีเสียงดังแกรก ๆ เมื่อดึงของขึ้น และจะไม่มีเสียงเมื่อนำของลง การยกของขึ้น ให้ทำการดึงโซ่ที่อยู่ด้านตัว ยู “U” เมื่อต้องการยกของขึ้นการยกของลง ให้ทำการดึงโซ่ที่อยู่ด้านตัว ดี “D” เมื่อต้องการยกของลง
การตรวจสภาพ รอกโซ่มือสาว Chain Block or Chain Hoist เช่น
น๊อตยึดโครงสร้างไม่ชำรุด
ประกับล็อคตะขอจะต้องไม่แตกร้าว
จานโซ่ไม่แตก
ขาล็อค (Safety Latch) ใช้งานได้ดี
โครงสร้างของตะขอต้องไม่มีรอยแตกร้าวหรือบิดงอเสียรูปทรง
ตะขอจะต้องไม่ถ่างออกจนเสียรูปทรง
โซ่จะต้องไม่เป็นสนิม และผุกร่อน
โซ่จะต้องไม่บิดเบี้ยว หักงอ
โซ่ต้องไม่มีรอยบิ่น หรือเปรอะเปื้อนด้วยลูกไฟจากงานเชื่อมโลหะ
ใช้มือดึงโซ่กลับไปมาจะต้องไม่มีการติดขัด
งานตรวจสอบรอกมือสาว รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว (Chain Block) และ รอกโยกโซ่, รอกกำมะลอ (Lever Block)
คือการตรวจสอบเครื่องมือช่วยยกและเคลื่อนย้ายวัสดุประเภทหนึ่ง ที่ใช้หลักการทางกลเพื่อผ่อนแรงในการยกสิ่งของหนัก ๆ ซึ่งพบใช้งานได้ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม, งานก่อสร้าง, คลังสินค้า และงานซ่อมบำรุงต่าง ๆ
รายการตรวจสอบหลัก ๆ ประกอบด้วย:
🔍 โครงสร้างรอก (Body Inspection)
ตรวจสอบรอยแตกร้าว, การเสียรูป หรือการบิดงอของโครงสร้างรอกโดยรอบ
🧵 โซ่ (Load Chain Inspection)
ตรวจสอบการสึกหรอ, การยืดตัว, รอยแตกร้าว และสนิมที่โซ่
⚙️ กลไกการยก (Gear and Brake System)
ตรวจสอบระบบเบรก, เฟืองภายใน, การหมุนของเพลาและลูกปืนว่าทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่
🪝 ตะขอ (Hook Inspection)
ตรวจสอบว่าตะขอยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ ไม่มีรอยแตก, การเปิดบานเกินมาตรฐาน และมี Safety Latch ครบถ้วน
🧾 ป้ายระบุข้อมูล (Identification Plate)
ตรวจสอบว่าป้ายระบุโหลดน้ำหนักสูงสุด (W.L.L.) ยังอยู่ครบและอ่านได้ชัดเจน
ความสำคัญของการตรวจสอบ:
✅ เพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะใช้งาน
✅ ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ ด้วยการซ่อมบำรุงตามระยะ
✅ สอดคล้องกับกฎหมายความปลอดภัยแรงงาน เช่น กฎหมายตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัยฯ
ในประเทศไทย (เช่น การตรวจสอบตามมาตรฐาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ กรมแรงงาน)