ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การทำงานหรือปฏิบัติงานกับความร้อนประกายไฟถือเป็นงานที่มีอันตรายสูง รวมถึงการ
ปฏิบัติงานที่อาจผิดพลาด ผิดขั้นตอน และยังอาจมีผู้ร่วมปฏิบัติงานด้วยจำนวนมาก ซึ่งการผิด
พลาดของคนหนึ่งอาจทำให้อีกคนหนึ่งได้รับอันตรายที่รุนแรงได้ และยังไม่มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
กับความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานให้ใช้งาน งานเสี่ยงอันตราย (Hazadous Work)
งานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือเพื่อนร่วมงานสูงหรืองานที่อาจก่อ
ให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ได้แก่งานที่มีลักษณะดังนี้ การทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน (Hot Work)
หมายถึง งานที่ทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟขณะปฏิบัติงาน เช่น งานตัดและเชื่อมโลหะด้วย
เครื่องเชื่อมไฟฟ้า หรือเชื่อมแก๊ส และงานที่ต้องใช้เครื่องเจียรนัย เป็นต้น
การทำงานบริเวณที่อับอากาศ หมายถึง การทำงานบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำ มีการสะสมของ
สารไวไฟ . ลักษณะงานอื่นๆ ทั่วไปที่เห็นว่ามีอันตราย (General)
ทำงานบนที่สูงเกิน 3 เมตร,งานเกี่ยวกับระบบท่อมีความดันสุง ท่อไอน้ำ ท่อสารเคมี หรือสาร
ไวไฟ, งานฉายรังสี (X-ray) งานก่อสร้าง,การซ่อม บำรุงเครื่องจักร บริเวณที่มีอันตรายหรือ
เครื่องจักร อื่นยังไม่หยุด การทำงานบริเวณที่มีเสียงดัง ความดันสูง เกิดการสั่นสะเทือนมาก
หรือมีสารเคมีอันตราย ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีความเข้าใจ และ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิด
ความปลอดภัยในการทำงานกับทุกคน
วัตถุประสงค์:
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงอันตรายของงานที่มีความร้อนประกายไฟ และสามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนั้นได้
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบวิธีการทำงานเกี่ยวกับงานที่มีความร้อนประกายไฟ
เพื่อเป็นการทำให้สถานที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน HOT WORK
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินความเสี่ยงของงานที่มีความร้อนประกายไฟ
หัวข้อการอบรม
พระราชบัญญัติความความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
กฎกระทรวง (กระทรวงแรงงาน) กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 25ุ62
กฎกระทรวง (กระทรวงแรงงาน) เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549
กฎกระทรวง (กระทรวงแรงงาน) กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
กฎกระทรวง (กระทรวงแรงงาน) กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อนํ้า พ.ศ. 2564
ความปลอดภัยในการทำงาน ตัด ประกอบ เชื่อม เจียร
การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์พร้อมใช้งาน
การขอใบอนุญาตการทำงาน Work permit
ข้อบังคับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot Work)
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับงาน HOT WORK ตัด เชื่อม เจียร ประกอบ
ระยะเวลาในการอบรม
หลักสูตร 1 วัน ( ภาคทฤษฎี 6 ชั่วโมง ) 9.00-16.00
การวัดผล
ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรม 100% ของระยะเวลาการอบรม
Pretest – Post test
มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรม
เนื้อหาการฝึกอบรม
กฎกระทรวง กฎหมายแรงงาน
การบรรยาย และกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
การแต่งกายผู้เข้าอบรม
แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้
ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี