ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย และการจัดการพฤติกรรมเสี่ยง เริ่มจากการตกลงร่วมกันว่าเราจะห่วงใย ดูแลซึ่งกันและกัน ไม่อยากให้ใครบาดเจ็บ เจ็บป่วย ทำกิจกรรมสังเกตุพฤติกรรมความปลอดภัย โดยการเข้า ทัก ชม เตือน ด้วยถ้อยคำ จังหวะเวลา ความถี่อย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัย ซึ่งต้องมีหลักการสังเกตุสำหรับตัดสินใจเข้าแสดงความห่วงใยอย่างถูกต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมแต่ละครั้ง มีการวัดผลจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย และการคงพฤติกรรมที่ปลอดภัย กรณีที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของบางคนได้ การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย, Behavior-based safety (BBS) เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับ อย่างกว้างขวางว่าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บได้จริง และช่วยส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรม ความปลอดภัยในองค์กร เมื่อพนักงานทุกคนเข้าใจหลักการและนําไป BBS ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง BBS อาศัยหลักการทางจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่นําไปสู่ความปลอดภัย
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและจิตสํานึกที่ดีในองค์กร
เพื่อวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย
เพื่อให้ทราบเทคนิคในการสื่อสาร การจูงใจ ให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย
เพื่อให้ทราบถึงหลักการของ BBS ความสำคัญ และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อการอบรม
BBS คือ อะไร, ทำไมต้อง BBS, พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และความผิดพลาดของมนุษย์(Human factor and error)
การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยบุคลิกภาพ (Personality)
การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย (C.O.A.C.H process )
เทคนิคการสื่อสาร และจูงใจ (Communication and motivation)
เทคนิคการสังเกต (BBSO Process) และควบคุมพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และการแก้ปัญหา
การริเริ่ม (BBS initiative) และนำ BBS ไปใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรม (workshop)
กลุ่มเป้าหมาย
พนักงานทุกระดับ หัวหน้างาน หัวหน้าแผนก ผู้จัดการ
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
หลักสูตร 1 วัน (09.00 – 16.00 น.)
การวัดผล
ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
เนื้อหาการฝึกอบรม
การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย, Behavior-based safety (BBS)
บรรยาย, แลกเปลี่ยนความคิดเห็น, ฝึกปฏิบัติ และกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม และทดลองฝึกปฏิบัติ (workshop and practice)
การแต่งกายผู้เข้าอบรม
แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้
ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี