Tag: หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนนั่งร้าน

  • หลักสูตร ผู้ควบคุมนั่งร้าน

    หลักสูตร ผู้ควบคุมนั่งร้าน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    ตามข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร:
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้านอย่างถูกต้องและปลอดภัย
    เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงและตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของนั่งร้านก่อนการใช้งานได้
    เพื่อลดอุบัติเหตุและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้านในสถานประกอบการ

    กลุ่มเป้าหมาย:
    ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง/ผู้ควบคุมงานติดตั้งนั่งร้าน
    วิศวกรความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.)
    หัวหน้างาน, ช่างเทคนิค และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานติดตั้งหรือใช้งานนั่งร้าน

    หัวข้ออบรม:
    กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน
    ประเภทและโครงสร้างของนั่งร้าน
    การวางแผนและการออกแบบนั่งร้านอย่างถูกต้อง
    ขั้นตอนการตรวจสอบก่อน-ระหว่าง-หลังการใช้งานนั่งร้าน
    การบำรุงรักษาและตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์นั่งร้าน
    ความเสี่ยงและอันตรายที่พบบ่อย พร้อมแนวทางป้องกัน
    กรณีศึกษาอุบัติเหตุจากนั่งร้านและบทเรียนเพื่อป้องกัน
    การปฏิบัติงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย และการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก (PPE)
    ฝึกปฏิบัติจริง : การตรวจสอบสภาพนั่งร้านและการประเมินความมั่นคง

    ระยะเวลาอบรม:
    1 วัน (6-8 ชั่วโมง)

    ใบรับรอง:
    ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับ “ใบประกาศนียบัตรผู้ควบคุมการทำงานนั่งร้าน” ตามรูปแบบที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง

  • หลักสูตร ผู้ตรวจสอบนั่งร้าน Inspection Scaffolding Training Courses อบรมด่วน ท่านละ 3,000 บาท

    หลักสูตร ผู้ตรวจสอบนั่งร้าน Inspection Scaffolding Training Courses อบรมด่วน ท่านละ 3,000 บาท

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    กระทรวงแรงงานพบว่าสถานประกอบกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด ได้แก่  “กิจการประเภทก่อสร้าง”   ซึ่งการประสบอันตรายมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยว
    กับนั่งร้าน จะประสบอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูงหรือนั่งร้านพัง  ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติ
    จากการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน  การอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยจึงเป็น
    สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อพนักงานได้นำความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
    จากนั่งร้าน การตรวจสอบนั่งร้านจะทำให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่านั่งร้านปลอดภัยสามารถใช้งานได้

    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ทราบกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน
    เพื่อให้ทราบถึงประเภทของนั่งร้านที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการเลือกใช้งานนั่งร้านที่เหมาะสมและปลอดภัย
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานอย่างไรให้ความปลอดภัยในการตรวจสอบนั่งร้าน
    เพื่อฝึกปฏิบัติในการตรวจสอบนั่งร้านให้ถูกวิธีและปลอดภัย

    หัวข้อการอบรมกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน
    ประเภทของนั่งร้าน อุปกรณ์นั่งร้านและโครงสร้างนั่งร้าน
    สาเหตุ การเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน
    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับงานนั่งร้าน
    มาตรฐานในการติดตั้งนั่งร้าน
    การตรวจสอบความปลอดภัยระหว่างปฏิบัติงานบนนั่งร้าน
    ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบนั่งร้านและการแขวน Tag ก่อนใช้งาน
    กลุ่มเป้าหมาย
    หัวหน้างาน, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ,
    ระยะเวลาในการอบรม  
    หลักสูตร   1  วัน
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร การโรยตัวเช็ดกระจก งานหลังคา Cleaning at Height and Roof work

    หลักสูตร การโรยตัวเช็ดกระจก งานหลังคา Cleaning at Height and Roof work

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ การป้องกันการตกจากที่สูง กำหนดให้  ให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืนสำหรับงานที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ห้ามให้ลูกจ้าง ทำงานบนที่ลาดชันที่ทำ มุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไปบริเวณที่อาจเกิดการพลัดตก และมีความสูงตั้งแต่ 4 เมตร ขึ้นไป
                   การอบรมการทำงานบนที่สูงนั้นมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานบนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง การป้องกันตัวเองจากอันตรายต่างๆ การเข้ารับการอบรมจะเป็นตัวช่วยส่วนหนึ่งให้มีความรู้และทักษะและ เพื่อเพิ่มระดับความรู้ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนที่สูง การใช้ และการสวมใส่อุปกรณ์อย่างถูกต้องและปลอดภัย ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น ให้พนักงาน ผู้รับเหมา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

    วัตถุประสงค์
    เพื่อเพิ่มระดับความรู้ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนที่สูง
    เพื่อเพิ่มทักษะในการวางแผนงาน และป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และแนวทางการจัดการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติอยู่

    หัวข้อการอบรม
    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานภัยในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่สูง
    ทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐานก่อนอบรมเรื่องเงื่อน, ติดตั้งระบบเชือก, ขึ้นเชือก และโรยตัว
    Fall Arrest System and Fall Restrain System / ระบบป้องกันการตกถึงพื้นด้านล่างและระบบจำกัดระยะ
    A-B-C-D / พื้นฐานหัวใจหลักของการทำงานบนที่สูง
    Safety Operating Procedure P-R-E-P / ขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงาน
    Rope access, SRT, DRT / เชือก2เส้น, เชือก1เส้น, เชือกคู่
    Basic knot and anchor / พื้นฐานเงื่อนเชือกและจุดยึด(คล้องเกี่ยว)
    Ascent with device and non-device / การไต่เชือกแบบใช้อุปกรณ์และไม่ใช้อุปกรณ์
    Descent with device and non-device / การโรยตัวแบบใช้อุปกรณ์และไม่ใช้อุปกรณ์
    Changeovers / การเปลี่ยนระบบขึ้น-ลง, ลง-ขึ้นบนกลางเชือก
    Rope to rope transfers / การย้ายเชือกจากเส้นไปสู่อีกเส้น
    Retrieve anchor / การเปลี่ยนจุดยึด
    Passing mid-rope knots / การไต่เชือกผ่านเงื่อน
    Edge obstruction at the top / การข้ามตัวรองเชือก
    Use of work seats (comfort seats) / การใช้เบาะนั่ง
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ทำงานบนหลังคา
    ผู้ปฎิบัติงานเช็คกระจก 
    ระยะเวลาในการอบรม 

    หลักสูตร  2  วัน (09.00 – 16.00 น.) (12 ชั่วโมง)
    การวัดผล 

    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเต็มเวลาของระยะเวลาการอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    WORKING AT HEIGHT
    Cleaning at Height and Roof work
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • การปฎิบัติงานบนเชือกและการโรยตัวบนที่สูงในภาคอุตสาหกรรม (Rope Work and Rappel at Height in Industry) อบรมด่วน

    การปฎิบัติงานบนเชือกและการโรยตัวบนที่สูงในภาคอุตสาหกรรม (Rope Work and Rappel at Height in Industry) อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     ณ ปัจจุบัน การทำงานบนที่สูง มีการขยายวงกว้างในภาคอุสาหกรรม ไม่ว่าจะธุรกิจงานติดตั้งหรือซ่อมแซมหลังคา งานขึ้นโครงสร้าง งานปีนเสาติดตั้งสัญญาณ โทรศัพท์ จานดาวเทียม งานโรยตัวทาสี งานทำความสะอาดกระจก ซ่อมบำรุงลิฟต์ งานขึ้นโครงสร้างกังหันลม หรืองาน เปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่มอเตอร์ในพื้นที่สูง หรืองานที่ไม่สามารถตั้งนั่งร้านได้ งานดังกล่าวล้วนแต่มีความเสี่ยงในการทำงานทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีทักษะในการทำงานเฉพาะด้าน การทำงานบนเชือก การโรยตัว  โดยผู้ปฏิบัติงานนั้นจำเป็นต้องมีประสบการณ์และความรู้ ในการทำงาน สำหรับหลักสูตร การปฏิบัติงานบนเชือกและการโรยตัวบนที่สูงในภาคอุตสาหกรรมนั้น  เราเน้นภาคปฏิบัติในการทำงานเกี่ยวกับเชือก รวมไปถึงการเข้าถึงอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นในการทำงานบนที่สูง มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดกับผู้ปฏิบัติงาน  ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์ได้จริง เกิดทักษะ และความชำนาญมากขึ้น  เพื่อลดความเสี่ยงและเกิดความปลอดภัยมากขึ้นด้วย

    วัตถุประสงค์
    เพื่อเพิ่มระดับความรู้ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนที่สูง
    เพื่อเพิ่มทักษะในการวางแผนงาน และป้องกันอันตรายเกี่ยวกับเชือก การโรยตัว
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และแนวทางการจัดการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติอยู่
    อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานที่ความสูงได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเสริมสร้างประสบการณ์ในการตรวจสอบเชือกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการโรยตัว

    หัวข้อฝึกอบรม
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานในระบบเชือก
    ความปลอดภัยในการทำงานที่สูง การเสี่ยงอันตราย
    อุปกรณ์การโรยตัวและอุปกรณ์สำหรับควบคุมความเร็ว
    การผูกเงื่อนและใช้เงื่อน การดูแลเงื่อนและเชือกที่สำคัญ
    ระบบการไต่ขึ้นและลงในแนวดิ่ง (ภาคปฎิบัติ รายบุคคล)
    การโรยตัวระดับสูง   (ภาคปฎิบัติ รายบุคคล)
    การช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นในยามวิกฤต
    การตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับใช้ในการโรยตัว
    กลุ่มเป้าหมาย
    เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ควบคุมการทำงานบนที่สูง 
    ผู้ที่มีความสนใจทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เชือกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการโรยตัว
    เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโรยตัวปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในแนวดิ่ง อาทิ โรยตัวทาสี ซ่อมแซมอาคารสูง งานทำความสะอาดกระจก
    ระยะเวลาในการอบรม 
    หลักสูตร  2  วัน (08.00 – 17.00 น.) (16 ชั่วโมง)
     การวัดผล  
    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลา 100 % ของระยะเวลาการอบรม 
     วิทยากรในการฝึกอบรม 
    ผ่านการฝึกอบรม จาก The Industrial Rope Access Trade Association หรือ IRATA
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร การติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้านญี่ปุ่น หลักสูตร 2 วัน

    หลักสูตร การติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้านญี่ปุ่น หลักสูตร 2 วัน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    กระทรวงแรงงานพบว่าสถานประกอบกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด ได้แก่  “กิจการประเภทก่อสร้าง”   ซึ่งการประสบอันตรายมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้าน จะประสบอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูงหรือนั่งร้านพัง  ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติจากการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน  การอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อพนักงานได้นำความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากนั่งร้าน  

    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ทราบกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน
    เพื่อให้ทราบถึงประเภทของนั่งร้านที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการเลือกใช้งานนั่งร้านที่เหมาะสมและปลอดภัย
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานอย่างไรให้ความปลอดภัยในทำงานบนนั่งร้าน
    เพื่อฝึกปฏิบัติในการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้านให้ถูกวิธีและปลอดภัย

    หัวข้อการอบรม
    กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน
    ประเภทของนั่งร้าน อุปกรณ์นั่งร้านและโครงสร้างนั่งร้านญึ่ปุ่น
    สาเหตุ การเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน
    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับงานนั่งร้าน
    การติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้านก่อนใช้งานนั่งร้านญึ่ปุ่น
    การตรวจสอบความปลอดภัยระหว่างปฏิบัติงานบนนั่งร้านญึ่ปุ่น
    การฝึกปฏิบัติการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้านตามมาตรฐานญี่ปุ่น 
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้านญี่ปุ่น
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม

    หลักสูตร  2 วัน   มีทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ 
    การวัดผล  

    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผลการเข้าอบรม โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    Pretest – Post test 

    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรม  มีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม

    เนื้อหาการฝึกอบรมการติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้านญี่ปุ่น  
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน 40 ท่านต่อรุ่น Safety of Working Scaffolds

    หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน 40 ท่านต่อรุ่น Safety of Working Scaffolds

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    นั่งร้านได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานซ่อมแซม และงานต่อเติมอาคารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่และมีการใช้นั่งร้านหลายรูปแบบ สถิติการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บพิการและเสียชีวิต ส่วนใหญ่มักเกิดจากนั่งร้านที่ใช้วัสดุและติดตั้งไม่ได้มาตรฐานและอีกปัจจัยหนึ่งคือการใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง เช่นการใช้นั่งร้านรับนํ้าหนักเกินกว่าที่จะรับได้ ทำให้นั่งร้านหักพังและนั่งร้านถล่ม การติดตั้งนั่งร้านในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการล้มและทรุดตัวของนั่งร้านและไม่มีการตรวจสอบนั่งร้านเพื่อความปลอดภัยก่อนการใช้งาน
                    ดังนั้นการอบรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานเพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่เกี่ยวกับนั่งร้านรวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกและการปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้านอย่างปลอดภัย
    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ทราบถึงประเภทของนั่งร้านที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการเลือกใช้งานนั่งร้านที่เหมาะสมและปลอดภัย
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานอย่างไรให้ความปลอดภัยในทำงานบนนั่งร้าน
    เพื่อฝึกปฏิบัติในการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้านให้ถูกวิธีและปลอดภัย 

    หัวข้อการอบรม
    ความรู้เบื้องต้นของนั่งร้านกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งนั่งร้าน
    สาเหตุ การเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน
    เทคนิคการค้นหาความเสี่ยงความปลอดภัยเกี่ยวกับการติดตั้งนั่งร้าน
    เทคนิคการตรวจสอบนั่งร้าน
    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับงานนั่งร้าน
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ที่ปฎิบัติงานเกี่ยวกับงานนั่งร้าน
    หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  1 วัน (09.00 – 16.00 น.) 
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60  จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    กฎกระทรวงการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่เกี่ยวกับนั่งร้าน
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้าน 30 ท่าน/รุ่น อบรมนั่งร้านด่วน อบรม Public 3,500 บาท / ท่าน

    หลักสูตรการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้าน 30 ท่าน/รุ่น อบรมนั่งร้านด่วน อบรม Public 3,500 บาท / ท่าน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    กระทรวงแรงงานพบว่าสถานประกอบกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด ได้แก่  “กิจการประเภทก่อสร้าง”   ซึ่งการประสบอันตรายมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้าน จะประสบอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูงหรือนั่งร้านพัง  ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติจากการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน  การอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อพนักงานได้นำความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากนั่งร้าน
     
    วัตถุประสงค์:
    เพื่อให้ทราบกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน
    เพื่อให้ทราบถึงประเภทของนั่งร้านที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการเลือกใช้งานนั่งร้านที่เหมาะสมและปลอดภัย
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานอย่างไรให้ความปลอดภัยในทำงานบนนั่งร้าน
    เพื่อฝึกปฏิบัติในการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้านให้ถูกวิธีและปลอดภัย

    หัวข้อการอบรม

    วันแรกของการอบรม 

    กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน                                 
    ข้อกำหนดอื่นๆตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน                   
    ประเภทของนั่งร้าน อุปกรณ์นั่งร้านและโครงสร้างนั่งร้าน                     
    สาเหตุ การเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน                                 
    กรณีศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับนั่งร้าน                   
    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับงานนั่งร้าน   
    วันที่สองของการอบรม
    มาตรฐานในการติดตั้งนั่งร้าน
    การติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้านแบบโครงสร้างสำเร็จและแบบท่อและข้อต่อ  (ภาคปฎิบัติ) 
    การตรวจสอบความปลอดภัยระหว่างปฏิบัติงานบนนั่งร้าน                    (ภาคปฎิบัติ) 
    การฝึกปฏิบัติการติดตั้งนั่งร้านแบบท่อและข้อต่อ                              (ภาคปฎิบัติ) 
    ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบนั่งร้านท่อเหล็กก่อนใช้งาน                            (ภาคปฎิบัติ) 
    ข้อควรปฏิบัติในการปฏิบัติงานบนนั่งร้านอย่างไรให้ปลอดภัย                  (ภาคปฎิบัติ) 
    กลุ่มเป้าหมาย     
    ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้าน
    ระยะเวลาในการอบรม 
    หลักสูตร 2 วัน (12 ชั่วโมง) 
    การวัดผล
    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 100% ของระยะเวลาการอบรม  
    Pretest – Posttest
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
     เนื้อหาการฝึกอบรม
    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564
    กฎกระทรวง กำหนมาตรฐานในการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานก่อสร้าง พ.ศ.2551
    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร
    มาตราฐานนั่งร้าน
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง 30 ท่าน/รุ่น อบรมการทำงานบนที่สูงด่วน ราคา 17,500 บาท อบรม Public 1,800 บาท / ท่าน อบรมด่วน working at height

    ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง 30 ท่าน/รุ่น อบรมการทำงานบนที่สูงด่วน ราคา 17,500 บาท อบรม Public 1,800 บาท / ท่าน อบรมด่วน working at height

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การฝึกอบรมหลักสูตร “ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง” จัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ 2554 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2551 โดยกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน พ.ศ. 2564
    การตกจากที่สูงถือเป็นอันดับต้นของการเสียชีวิต หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการ แนวทางการจัดการ การปฏิบัติ ข้อควรระวัง วิธีการตรวจสอบและบำรุงรักษา การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมตามลักษณะงาน รวมไปถึงกรณีศึกษาของอุบัติเหตุจากการตกที่สูง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง การป้องกันตัวเองจากอันตรายต่างๆ การเข้ารับการอบรมจะเป็นตัวช่วยส่วนหนึ่งให้มีความรู้และทักษะและ เพื่อเพิ่มระดับความรู้ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนที่สูง การใช้ และการสวมใส่อุปกรณ์อย่างถูกต้องและปลอดภัย ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น ให้พนักงาน ผู้รับเหมา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง


    วัตถุประสงค์

    เพื่อเพิ่มระดับความรู้ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนที่สูง
    เพื่อเพิ่มทักษะในการวางแผนงาน และป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และแนวทางการจัดการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติอยู่

    หัวข้อการอบรม
    ทฤษฎี   


    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานภัยในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2551
    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ.2564
    สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานที่สูง
    แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยและวิธีการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
    การชี้บ่งอันตรายในการทำงานบนที่สูง 
    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเครื่องมือเกี่ยวกับการป้องกันการตกจากที่สูง
    Vertical Lifeline and Horizontal Lifeline / สายเชือกช่วยชีวิตในแนวดิ่งและแนวระนาบ
    Climbing Technique, Ascend and Descent / เทคนิคการปีนขึ้น-ลง
    การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยบนที่สูง
    การตรวจสอบ และบำรุงรักษา อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานบนที่สูง
    Knot and Anchor / เงื่อนเชือกและจุดยึด(จุดคล้องเกี่ยว)
    ภาคปฏิบัติเสมือนจริง ในการทำงานบนที่สูง
    กลุ่มเป้าหมาย
    สถานประกอบกิจการที่มีการทำงานบนที่สูง ผู้ปฎิบัติงานบนที่สูง
    ผู้ปฎิบัติงานการทำงานบนเสาส่งสัญญานโทรศัพท์ จานดาวเทียม 
    งานทำความสะอาดกระจก
    ผู้ที่ต้องทำงานด้วยระบบเชือก
    ระยะเวลาในการอบรม  
    หลักสูตร   1  วัน  (ภาคทฤษฎี+ภาคปฎิบัติ) 
    การวัดผล
    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการอบรม
    Pretest – Posttest  
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม  
    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. ๒๕๕๑
    การฝึกภาคปฎิบัติการทำงานบนที่สูง ฝึกการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี