Tag: หลักสูตรสารเคมี

  • บริการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุสัญญาณเพลิงไหม้ Fire Alarm System

    บริการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุสัญญาณเพลิงไหม้ Fire Alarm System

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    เราบริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ หรือ ISTE รับบริการตรวจสอบระบบไฟอร่ามในโรงงาน บริการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การทดสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (fire alarm system). ตรวจสอบการรับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ต่างๆ ที่ติดตั้งภายในอาคาร ,ตรวจสอบไฟอร่าม,รับรองระบบไฟอร่าม, Fire alarm, Smoke detector ,   Heat  Detector รับติดตั้ง และออกแบบระบบดับเพลิง , ออกแบบระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย, ติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ,ทดสอบและตัิดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน , ทดสอบและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน รับติดถังดับเพลิง ออกแบบสปริงเกอร์ภายในอาคาร


           เนื่องจากระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ ( Fire Alarm System ) นั้น มีความสำคัญมาก เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าระบบแจ้ง เตือนเหตุเพลิงไหม้ของคุณยังใช้งานได้ปกติดี จึงจำเป็นที่จะต้องทำการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อยู่ตลอดเวลา   การตรวจสอบประจำปีจะทำการตรวจเช็ค และทดสอบอุปกรณ์ในระบบไฟร์อรามทุกตัว รวมทั้งตู้คอนโทรล และอุปกรณ์แจ้งเตือนต่างๆ เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์ทุกตัว อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ปกติดี  และเมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์ขึ้นระบบจะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีขั้นตอนการตรวจทดสอบดังนี้

    1.      ตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel)
          การตรวจสอบสภาพ (Checking) ของตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
    ตรวจสอบสภาพโดยรวมทั้งภายนอกและภายในตู้ (Housing)
    ตรวจสอบสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) อยู่ภายในตู้
    ตรวจสอบสภาพบอร์ดควบคุม (Control Board)
    ตรวจสอบขั้วต่อ (Terminal Strip) บอร์ดควบคุม (Control Board)
    ตรวจสอบหม้อแปลงจ่ายไฟ (Transformer Power Supply)
    ตรวจเช็คแหล่งจ่ายไฟ โดยดูขั้วต่อสาย กับวัดกระแสไฟเข้า -ออกปกติหรือไม่
    ตรวจสอบสภาพโดยรวมของแบตเตอร์รี่ (Battery) และตรวจขั้วแบตเตอรี่
    ตรวจสอบสภาพหน้าจอแสดงผล (LCD Display) กับแป้นควบคุม และสวิทซ์ปุ่มกด (Keypad)
    ตรวจสอบหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) การแจ้งเตือนต่างๆ
    ตรวจสอบฟังก์ชั่น (Function) การควบคุม (Controller) และ การสั่งงาน (Relay) ต่างๆ
    ตรวจเช็คระบบ Emergency Telephone (Firefighters) 
    ทดสอบการทำงาน (Testing) ของตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
    ทดสอบการทำงานของหน้าจอแสดงผล (LCD Display)
    ทดสอบระบบการตรวจสอบด้วยตัวเอง (Supervisory)
    ตรวจสอบดวงไฟแจ้งเตือน (Alarm LED) ทุกดวงที่แสดงพื้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้บนตู้
    ทดสอบระบบการรับสัญญาณแจ้งเตือนจากอุปกรณ์จับสัญญาณ (Signal Initiating Devices)
    ทดสอบระบบการส่งสัญญาณไปสั่งงานอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices)
    ทดสอบกดสวิทซ์ปุ่มกดหยุดเสียงแจ้งเตือน (Acknowledge) ที่ตู้ควบคุม
    ทดสอบกดสวิทซ์ปุ่มกดการคืนค่าระบบ (Reset) ที่ตู้ควบคุม
    การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
    ทำความสะอาดหน้าจอแสดงผล (LCD Display)
    ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น
    ตรวจสอบและขันน๊อตเข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น
    จัดเรียงสายไฟภายในตู้ให้เรียบร้อย
    2.      อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)
                การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ชนิดต่างๆ จะทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์จำลองควัน เช่น สเปรย์ควันเทียม (Smoke Detector Tester) แล้ว จะดูสถานะการณ์ทำงาน ของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ของตัวอุปกรณ์
    ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยสเปรย์ควันเทียม (Smoke Tester)
    ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยสเปรย์ควันเทียม
    ตรวจทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
    ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ
    ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ
    ตรวจสอบไฟแสดงสถานะ (LED Status) ตู้ควบคุมระบบ
    การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
    ทำความสะอาดของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
    ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น  
    3.      อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
               การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิดต่างๆ  จะทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน (Heat Gun) แล้ว จะดูสถานะการณ์ทำงาน ของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ของตัวอุปกรณ์
    ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ด้วยเครื่องเป่าลมร้อน (Heat Tester)
    ตรวจทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
    ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยเครื่องเป่าลมร้อน
    ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ
    ตรวจทดสอบสภาพโดยรวมของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
    ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ
    เช็คหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status)   
    การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
    ทำความสะอาดของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
    ทำความสะอาดและขันน็อต เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น
    4.      อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station)
              การทดสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ซึ่งจะทดสอบโดยการใช้งานจริง  เช่น ดึงคันโยกลง (Pull Down) หรือกดปุ่ม (Push Button) ในกรณีที่รวมคีย์สวิทซ์ (Keyswitch) ในตัว อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) เพื่อทำระบบส่งสัญญาณเตือนทันทีแบบพร้อมกันทั้งหมด (General Alarm) จะ ทดสอบโดยการใช้กุญแจไขที่คีย์สวิทซ์ระบบก็จะส่งสัญญาณเตือนจากอุปกรณ์กระดิ่ง (Bell)หรืออุปกรณ์ไฟกระพริบ(Strobe) ให้ดังพร้อมกันทั้งหมดทันที แต่การทดสอบนี้ต้องขี้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละสถานที่
    ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ ด้วยกุญแจไขทดสอบ หรือดึงคันโยกลง
    ตรวจทดสอบการคืนค่า (Reset) ของอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ด้วยกุญแจไข คืนค่า
    ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยกุญแจไข หรือดึงคันโยกลง
    ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ
    ตรวจทดสอบสภาพโดยรวม
    ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip)
    ตรวจทดสอบหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status)
    การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
    ทำความสะอาด ทั้งด้านหน้า และด้านใน
    ทำความสะอาดและขันน็อต เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น
    5.   อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Combination Box)
            การตรวจทดสอบสภาพ (Checking & Testing) ของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน 
    ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน
    ตรวจทดสอบหยุดเสียงแจ้งเตือน ด้วยการกดปุ่มสวิทซ์ (Acknowledge) ที่กล่อง
    ตรวจทดสอบการคืนค่าระบบ ด้วยการกดปุ่มสวิทซ์ (Reset) ที่กล่อง
    ตรวจทดสอบสภาพโดยรวม
    ตรวจทดสอบความดังเสียงเตือนของอุปกรณ์ Bell หรือ Horn
    ตรวจทดสอบการกระพริบไฟแฟลชของอุปกรณ์ Strobe
    ตรวจเช็คฐานของตัวอุปกรณ์อยู่ในสภาพดีหรือไม่
    ตรวจทดสอบความดังเสียงเตือน กับการระพริบไฟแฟลชของอุปกรณ์
    การทำความสะอาด (Cleaning)
    ทำความสะอาด อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
    ทำความสะอาดและขันน็อต เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น 
    6.      การจัดทำรายงาน ผลการตรวจทดสอบ     
    ทำรายงานบันทึกและสรุปจำนวนอุปกรณ์ที่ทำการทดสอบกับทำความสะอาดทั้งหมด      
    ในการทดสอบระบบอุปกรณ์ หากพบอุปกรณ์ชำรุดเสียหายแจ้งเจ้าหน้าความปลอดภัยหรือเจ้าของพ้นที่ทันที เพื่อดำเนินการการแก้ไขซ่อมแซมในขั้นตอนต่อไป

  • ตรวจสอบไฟฟ้าประจำปี

    ตรวจสอบไฟฟ้าประจำปี

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การตรวจระบบไฟฟ้าในโรงงาน
    ตามกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ 2550
    ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 
             การตรวจระบบไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความปลอดภัยในโรงงานงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ดีคือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน สิ่งสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคือการตรวจสอบสภาพเพื่อให้ทราบว่าระบบหรืออุปกรณ์มีร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือไม่ มีสภาพที่ต้องการการบำรุงรักษาหรือไม่ ในการตรวจสอบสามารถทำได้ 2 แบบ คือการตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) และการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ด้วย การตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้าทั่วไป เป็นการตรวจอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกันเป็นอย่างดี การสัมผัสส่วนใด ๆ ต้องมั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้า หรือมีการป้องกันอย่างเหมาะสมแล้ว
    การตรวจทั่วไปมีดังนี้
    สายไฟฟ้า
    เซอร์กิตเบรกเกอร์
    ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย
    การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า
    การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
    แบตเตอรี่
    การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง
    ป้ายเตือนอันตราย
    ฝุ่น หยากไย่ โดยรอบตู้และภายในตู้

    การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อหาจุดบกพร่อง การเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟฟ้า บางรายการต้องดับไฟก่อนจึงจะตรวจได้เนื่องจากมีอันตราย ผู้ที่จะทำการตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย 
            อินดักชั่น เซฟตี้ ให้บริการตรวจสอบและรับรองความปลอคภัยระบบไฟฟ้าประจำปี การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าประจำปีพร้อมจัดทำเอกสารและรับรองความปลอดภัย โดยทีมงานวิศวกรไฟฟ้า ซึ่งเป็นผู้ชำนาญในการตรวจสอบโดยตรง  
    ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร/โรงงานอุตสาหกรรมตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ของกระทรวงแรงงาน รับรองโดยวุฒิวิศวกร/สามัญวิศวกร 
    ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ของกระทรวงอุตสาหกรรม รับรองโดยวุฒิวิศวกร/สามัญวิศวกร รายละเอียดการตรวจสอบ รับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าประจำปี
    โดยมีเครื่องมือตรวจสอบที่ทันสมัยเครื่องวัดกระแส ความถี่ PF ฮาร์โมนิคส์ Power Quality Analyzer
    เครื่องมือตรวจวัดค่าความต้านทานดิน Earth Resistance Tester
    กล้องอินฟาเรดตรวจจับความร้อน Thermography Scan
    เครื่องมือตรวจวัดกระแสไฟฟ้า Digital Clamp Meter
    เครื่องมือตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า Digital Multimeter
    เครื่องมือตรวจวัดการรั่วไหลกระแสไฟฟ้า,การต่อสายดิน Volte alert  

  • งานตรวจสอบเครน (ปั้นจั่น) การตรวจสอบ ปั้นจั่น 2 (ปจ.2)

    งานตรวจสอบเครน (ปั้นจั่น) การตรวจสอบ ปั้นจั่น 2 (ปจ.2)

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    Fire  Protection System
    บริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ แอนด์ เทรนนิ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตามประกาศใช้กฎหมายใหม่ของกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11 สำหรับ ผู้ทดสอบเครื่องจักร (ลิฟต์,เครื่องจักรสำหรับยกขนขึ้นทำงานบนที่สูง,รอก) ปั้นจั่น, หม้อน้ำ,หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน,ภาชนะรับแรงดัน ตามกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๖๔

    การทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นตามกฎหมาย
            ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการใช้งานปั้นจั่น (เครน) เป็นจำนวนมากตามสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปั้นจั่นจะเป็นเครื่องทุ่นแรงและอำนวยความสะดวกที่สำคัญในการดำเนินงานในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยที่ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการใช้งานปั้นจั่นเป็นข่าวตลอดเวลา ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงาน ได้มีการกำหนดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554 นั้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานทดสอบ โดยให้วิศวกรวิชาชีพเป็นผู้ดำเนินการ (วิศวกรเครื่องกล) เพื่อจัดทำข้อมูลรายการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นให้ทางนายจ้าง นำไปปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างและผู้ปฏิบัติงานทุกรายในสถานประกอบกิจการต่าง ๆรายละเอียดที่ต้องตรวจสอบ
                วิศวกรผู้ทดสอบปั้นจั่นต้องทำการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น ตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตาม กฏหมายที่เกี่ยวข้องหลัก คือ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ประเภทและลักษณะของงานที่ใช้ปั้นจั่น ปั้นจั่นสามารถแยกได้ตามประเภทและลักษณะของงานที่ใช้ปั้นจั่น ดังต่อไปนี้

    3.1 ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
    3.2 ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
    3.3  ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
    3.4 ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน เอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบ จะใช้เป็นแบบที่ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแนะนำ ดังต่อไปนี้ 
    แบบ ปจ.1 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่)
    แบบ ปจ.2 : รายการการตรวจสอบและทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่)
    ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ปจ.1
    Gantry Crane(เครนแบบมีขา), Overhead Crane,(เครนเหนือศรีษะ)  Electric  chain Hoist (รอกโซ่ไฟฟ้า, Semi Gantry Crane, Portal Crane, Floating Crane(เครนลอยน้ำ), Container handling Crane, JIB Crane or Wall Crane(เครนแบบบูมสวิง) , Passenger Hoist and Material lift (ลิฟท์โดยสารและขนส่งวัสดุ), Concrete placing Boom, Gondola (กระเช้าไฟฟ้า)
    ลิฟต์ทุกชนิด
    ลิฟท์โรงงานทั่วไป
    ลิฟท์ระบบไฮโดรลิค
    ลิฟท์ขนของ
    ลิฟท์คลังสินค้า
    ลิฟท์ยกสินค้า
    ลิฟท์บรรทุกของ
    รอกทุกชนิด
    ปั้นจั่นทุกชนิด
    Hoist 
    ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ ปจ.2
    Mobile Crane รถเครนทุกชนิด All Terrain Crane, Rough Terrain Crane (เครน4ล้อ 2เพลา), Truck Crane, Crawler Crane, รถบรรทุกติดเครน Truck Mounted Crane or Cargo Crane,
    รถเฮี๊ยบ 
    รถบรรทุกติดเครน 
    รถโมบายเครน (Mobile crane) 
    รถเครน 
    รถแบคโฮ 
    รถ Boom -lift / X – lift 
    รถกระเช้า 
    รถบรรทุกติดเครน 
    นอกจากนี้ ยังรับตรวจสอบ Forklift  รถยก  และตรวจสอบอุปกรณ์กรช่วยยก (Lifting Gear)

            เราตรวจสอบด้วยความเชี่ยวชาญโดยวิศวกรและทีมงานที่มีประสบการณ์ตรง ด้านเครื่องจักรกลงานก่อสร้างและเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมหลังจากการตรวจสอบ ผ่านทางบริษัทจะออกใบรับรอง ปจ.1,ปจ.2,ลิฟท์,รถยก,เครื่องจักรที่ผ่านการตรวจสอบ Inspection&Load Test ให้โดยวิศวกรเครื่องกลระดับสามัญและภาคี ซึ่งเป็นไปตามกฏหมายรับตรวจสอบระบบสัญญรายปี มีใบเซอร์ Load Test รับรองที่ได้มาตรฐาน

  • การตรวจสอบรถยก โฟร์คลิฟท์ Forklift LPG

    การตรวจสอบรถยก โฟร์คลิฟท์ Forklift LPG

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    Fire  Protection System

    บริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ แอนด์ เทรนนิ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตามประกาศใช้กฎหมายใหม่ของกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11 สำหรับ ผู้ทดสอบเครื่องจักร (ลิฟต์,เครื่องจักรสำหรับยกขนขึ้นทำงานบนที่สูง,รอก) ปั้นจั่น, หม้อน้ำ,หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน,ภาชนะรับแรงดัน ตามกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๖๔

    การตรวจสอบ รถยก โฟร์คลิฟท์ Forklift


     นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับรถยกนายจ้างต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
    จัดให้มีโครงหลังคาที่มั่นคงแข็งแรงสามารถป้องกันอันตรายจากวัสดุตกหล่นได้
    จัดทำป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกให้ตรงกับความสามารถในการยกสิ่งของได้โดยปลอดภัยติดไว้ที่รถยกเพื่อให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน
    ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้งและเก็บผลการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
    จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งาน
    ห้ามนายจ้างทำการดัดแปลงหรือกระทำการใดที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการทำงานของรถยกลดลง
    นายจ้างต้องกำหนดเส้นทางและตีเส้นช่องทางเดินรถยกในอาคารหรือบริเวณที่มีการใช้รถยกเป็นประจำ
    นายจ้างต้องติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้ที่บริเวณทางแยกหรือทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า
    นายจ้างต้องจัดให้พื้นเส้นทางเดินรถยกมีความมั่นคงแข็งแรงและสามารถรองรับน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของรถยกได้อย่างปลอดภัย
    นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก
    นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้ลูกจ้างนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าใกล้กว่าระยะห่างที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานของการไฟฟ้าในท้องถิ่นนั้น
    กรณีที่ไม่มีมาตรฐานดังกล่าวให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
    นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้บุคคลอื่นโดยสารไปกับรถยก
    นายจ้างต้องจัดให้มีคู่มือการใช้การตรวจสอบและการบำรุงรักษารถยกให้ลูกจ้างได้ศึกษาและปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

    โรงงานที่มีการใช้รถโฟล์คลิฟท์ซึ่งใช้ก๊าซ LPG จึงควรปฏิบัติ
    ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2549) ดังต่อไปนี้

        1. ควรควบคุมปริมาณถังก๊าซ LPG ที่ใช้กับรถโฟล์คลิฟท์ไม่ให้เกิน 500 ลิตร เพราะจะเข้าข่ายเป็นสถานที่ใช้ก๊าซ (ย้ำว่า 500 ลิตร ไม่ใช่ 500 กก.) คิดกันง่ายๆ คือ ถังก๊าซ LPG ที่ใช้ในรถโฟล์คลิฟท์ ขนาด 15-18 กก จะมีความจุ 30 ลิตรโดยประมาณ (เทียบกับค่าความถ่วงจำเพาะของ LPG = 0.50) จะเก็บได้ไม่เกิน 16 ถัง (รวมถังเปล่าที่ใช้หมุนเวียนด้วยครับ)
       2.  ถ้าครอบครองถังก๊าซ LPG ที่ใช้กับรถโฟล์คลิฟท์เกินกว่า 500 ลิตร จะต้องปฏิบัติตาม ข้อบังคับดังต่อไปนี้
            2.1  ข้อ 20 สถานที่ตั้งและเก็บถังก๊าซหุงต้มของสถานที่ใช้ก๊าซ ต้องมีลักษณะและระยะปลอดภัย
            2.2  ข้อ 84 การตั้งถังก๊าซหุงต้มในสถานที่ใช้ก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้
                  (1)  ต้องตั้งถังก๊าซในที่ที่จัดไว้สำหรับตั้งถังก๊าซหุงต้มโดยเฉพาะเท่านั้น
                  (2)  ต้องไม่ตั้งถังก๊าซหุงต้มซ้อนกัน
                  (3)  ต้องตั้งถังก๊าซหุงต้มไว้ในที่ที่มีการระบายอากาศหรือถ่ายเทอากาศได้ดี
                  (4)  ต้องมีอุปกรณ์ยึดถังก๊าซหุงต้ม เพื่อไม่ให้ถังก๊าซหุงต้มเคลื่อนหรือล้ม
    2.3  ข้อ 99 ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงหรือเครื่องดับเพลิงชนิดอื่นที่ไม่ใช่เครื่องดับเพลิงชนิดฟองก๊าซ ซึ่งบรรจุผงไม่น้อยกว่า 6.8 กก. ณ ผนังริมประตูเข้าออก 1 เครื่องและที่บริเวณที่ตั้งกลุ่มถังก๊าซหุงต้ม 1 เครื่องต่อปริมาณก๊าซทุก 1000 ลิตร เศษของ 1000 ลิตร ให้คิดเป็น 1000 ลิตร
            2.4  ข้อ 103 ห้ามใช้เครื่องดับเพลิงชนิดฟองก๊าซดับเพลิงที่เกิดจากก๊าซ
            2.5  ข้อ 104  ต้องมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ได้มาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนด การป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมถึงการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เป็นไปตามหมวด 11
            2.6  ข้อ 107 ถ้าครอบครองเกิน 500 ลิตร ต้องติดตั้งเครื่องส่งเสียงดังเมื่อก๊าซรั่วไว้ที่บริเวณที่ตั้งและเก็บถังก๊าซหุงต้มบริเวณละหนึ่งเครื่อง
       3. ถังก๊าซที่ใช้กับรถโฟล์คลิฟท์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับรถโฟล์คลิฟท์ ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดมาตรฐานดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว มอก. 27
       4. การติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบของระบบก๊าซต้องได้รับการตรวจทดสอบรับรองอย่างน้อยปีละครั้ง โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2545
    ก๊าซ LPG สำหรับรถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ถังก๊าซสำหรับรถฟอร์คลิฟท์ ของ ปตท. ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ โดยเฉพาะ ช่วยให้ประหยัด ปลอดภัย ตามมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งยังเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่สะอาด เผาไหม้สมบูรณ์ ช่วยลดมลภาวะในอากาศ
    เราให้บริการรับซ่อม รถยก Forklift โฟล์คลิฟท์ ทุกรุ่น ทุกชนิด ทุกยี่ห้อ
    บริการแก้ไข ปรับปรุง ซ่อมแซมในส่วนที่หลวม คลอน โยก หรือชำรุด
    บริการส่งอะไหล่ตามสั่งโดยไม่คิดค่าบริการ
    บริการรับดูแลรถยก Forklift แบบรายเดือน แบบรายปี (สัญญาปีต่อปี)
    บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
    บริการเปลี่ยนกรองไฮดรอลิคต์ 
    บริการเปลี่ยนกรองอากาศ
    บริการอัดจารบีตามจุดต่างๆ
    บริการกรวดน้ำกลั่นในแบตเตอรี่
    บริการตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำ
    บริการตรวจ-วัดระดับน้ำมันเกียร์,เฟืองท้าย
    บริการซ่อมปั๊มคลัทช์รั่ว
    ซ่อมกระปุกคอพวงมาลัย FORKLIFT
    ซ่อมคาร์บูเรเตอร์
    ซ่อมปั๊มไฮดรอลิค
    ถอดปั๊มดีเซล forklift
    ซ่อมปั๊มไฮดรอลิค forklift

  • งานตรวจสอบเครน (ปั้นจั่น) การตรวจสอบ ปั้นจั่น 1 (ปจ.1)

    งานตรวจสอบเครน (ปั้นจั่น) การตรวจสอบ ปั้นจั่น 1 (ปจ.1)

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    Fire  Protection System

    บริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ แอนด์ เทรนนิ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตามประกาศใช้กฎหมายใหม่ของกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11 สำหรับ ผู้ทดสอบเครื่องจักร (ลิฟต์,เครื่องจักรสำหรับยกขนขึ้นทำงานบนที่สูง,รอก) ปั้นจั่น, หม้อน้ำ,หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน,ภาชนะรับแรงดัน ตามกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๖๔ 

    ปั้นจั่น ปจ.1


            ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554 นั้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานทดสอบ โดยให้วิศวกรวิชาชีพเป็นผู้ดำเนินการ (วิศวกรเครื่องกล) เพื่อจัดทำข้อมูลรายการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นให้ทางนายจ้าง นำไปปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างและผู้ปฏิบัติงานทุกรายในสถานประกอบกิจการต่าง ๆ

    ปั้นจั่นที่ต้องตรวจสอบพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
    ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
    ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน
    ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ปจ.1
    Gantry Crane(เครนแบบมีขา)

    Overhead Crane,(เครนเหนือศรีษะ)  
    Electric  chain Hoist รอกโซ่ไฟฟ้า
    Semi Gantry Crane
    Portal Crane
    Floating Crane(เครนลอยน้ำ)
    Container handling Crane
    JIB Crane or Wall Crane(เครนแบบบูมสวิง)
    Passenger Hoist and Material lift (ลิฟท์โดยสารและขนส่งวัสดุ)
    Concrete placing Boom, Gondola (กระเช้าไฟฟ้า)
    Hoist 

    ในการประกอบ การทดสอบ การใช้ การซ่อมบำรุง และการตรวจสอบปั้นจั่นหรืออุปกรณ์อื่นที่นำมาใช้กับปั้นจั่น
    นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานดังกล่าว นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานที่วิศวกรได้กำหนดขึ้นเป็นหนังสือ
    นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบและการตรวจสอบการติดตั้งปั้นจั่น ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตโดยวิศวกรก่อนการใช้งาน และจัดทำรายงานการตรวจสอบและการทดสอบ ซึ่งมีลายมือชื่อวิศวกรรับรอง เก็บไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
    ในกรณีที่มีการหยุดใช้งานปั้นจั่นตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ก่อนนำมาใช้งานใหม่นายจ้างต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
    นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นปีละไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งตามประเภทและลักษณะของงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
    นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่นผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

  • งานตรวจสอบรอกมือสาว รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว Chian Block และ รอกโยกโซ่,รอกกำมะลอ Level Block

    งานตรวจสอบรอกมือสาว รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว Chian Block และ รอกโยกโซ่,รอกกำมะลอ Level Block

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    Fire  Protection System

    บริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ แอนด์ เทรนนิ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตามประกาศใช้กฎหมายใหม่ของกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11 สำหรับ ผู้ทดสอบเครื่องจักร (ลิฟต์,เครื่องจักรสำหรับยกขนขึ้นทำงานบนที่สูง,รอก) ปั้นจั่น, หม้อน้ำ,หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน,ภาชนะรับแรงดัน ตามกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๖๔

    การตรวจสอบรอกโซ่มือสาว และรอกโยกโซ่
     การตรวจสอบลักษณะโดยทั่วไปและการใช้งานรอกโซ่มือสาว รอกโยกโซ่ การตรวจสภาพ รอกโซ่มือสาว ก่อนนำมาใช้งาน แต่จะมีความแตกต่างบ้างสำหรับรอกมือสาว กับ รอกโยกโซ่ หรือ รอกกำมะลอ ก่อนการใช้รอกโซ่ ควรตรวจดูสภาพโซ่ ดูการสึกหรอและมีการทาสารหล่อลื่น ตรวจการทำงานของเบรค โดยการยกของขึ้นและปล่อยลงในช่วงระยะสั้น ๆ 2-3 ครั้ง เฟืองของเบรคจะมีเสียงดังแกรก ๆ เมื่อดึงของขึ้น และจะไม่มีเสียงเมื่อนำของลง  การยกของขึ้น ให้ทำการดึงโซ่ที่อยู่ด้านตัว ยู “U” เมื่อต้องการยกของขึ้นการยกของลง ให้ทำการดึงโซ่ที่อยู่ด้านตัว ดี “D” เมื่อต้องการยกของลง 

    การตรวจสภาพ รอกโซ่มือสาว Chain Block or Chain Hoist  เช่น
    น๊อตยึดโครงสร้างไม่ชำรุด
    ประกับล็อคตะขอจะต้องไม่แตกร้าว
    จานโซ่ไม่แตก
    ขาล็อค (Safety Latch) ใช้งานได้ดี
    โครงสร้างของตะขอต้องไม่มีรอยแตกร้าวหรือบิดงอเสียรูปทรง
    ตะขอจะต้องไม่ถ่างออกจนเสียรูปทรง
    โซ่จะต้องไม่เป็นสนิม และผุกร่อน
    โซ่จะต้องไม่บิดเบี้ยว หักงอ
    โซ่ต้องไม่มีรอยบิ่น หรือเปรอะเปื้อนด้วยลูกไฟจากงานเชื่อมโลหะ
    ใช้มือดึงโซ่กลับไปมาจะต้องไม่มีการติดขัด

    งานตรวจสอบรอกมือสาว รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว (Chain Block) และ รอกโยกโซ่, รอกกำมะลอ (Lever Block)
    คือการตรวจสอบเครื่องมือช่วยยกและเคลื่อนย้ายวัสดุประเภทหนึ่ง ที่ใช้หลักการทางกลเพื่อผ่อนแรงในการยกสิ่งของหนัก ๆ ซึ่งพบใช้งานได้ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม, งานก่อสร้าง, คลังสินค้า และงานซ่อมบำรุงต่าง ๆ
    รายการตรวจสอบหลัก ๆ ประกอบด้วย:
    🔍 โครงสร้างรอก (Body Inspection)
    ตรวจสอบรอยแตกร้าว, การเสียรูป หรือการบิดงอของโครงสร้างรอกโดยรอบ
    🧵 โซ่ (Load Chain Inspection)
    ตรวจสอบการสึกหรอ, การยืดตัว, รอยแตกร้าว และสนิมที่โซ่
    ⚙️ กลไกการยก (Gear and Brake System)
    ตรวจสอบระบบเบรก, เฟืองภายใน, การหมุนของเพลาและลูกปืนว่าทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่
    🪝 ตะขอ (Hook Inspection)
    ตรวจสอบว่าตะขอยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ ไม่มีรอยแตก, การเปิดบานเกินมาตรฐาน และมี Safety Latch ครบถ้วน
    🧾 ป้ายระบุข้อมูล (Identification Plate)
    ตรวจสอบว่าป้ายระบุโหลดน้ำหนักสูงสุด (W.L.L.) ยังอยู่ครบและอ่านได้ชัดเจน

    ความสำคัญของการตรวจสอบ:
    เพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะใช้งาน
    ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ ด้วยการซ่อมบำรุงตามระยะ
    สอดคล้องกับกฎหมายความปลอดภัยแรงงาน เช่น กฎหมายตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัยฯ
    ในประเทศไทย (เช่น การตรวจสอบตามมาตรฐาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ กรมแรงงาน)

  • การตรวจสอบลิฟท์ขนส่ง ลิฟท์ขนของ

    การตรวจสอบลิฟท์ขนส่ง ลิฟท์ขนของ

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    Fire  Protection System

    บริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ แอนด์ เทรนนิ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตามประกาศใช้กฎหมายใหม่ของกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11 สำหรับ ผู้ทดสอบเครื่องจักร (ลิฟต์,เครื่องจักรสำหรับยกขนขึ้นทำงานบนที่สูง,รอก) ปั้นจั่น, หม้อน้ำ,หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน,ภาชนะรับแรงดัน ตามกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๖๔
    การตรวจสอบลิฟต์
    นายจ้างจัดให้มีลิฟต์ในการปฏิบัติงาน นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
    จัดทำคำแนะนำอธิบายการใช้ลิฟต์และการขอความช่วยเหลือติดไว้ในห้องลิฟต์
    จัดทำคำแนะนำอธิบายการให้ความช่วยเหลือ ติดไว้ในห้องจักรกลและห้องผู้ดูแลลิฟต์
    จัดทำข้อห้ามใช้ลิฟต์ ติดไว้ที่ข้างประตูลิฟต์ด้านนอกทุกชั้น
    จัดให้มีการตรวจสอบลิฟต์ก่อนการใช้งานทุกวัน หากส่วนใดชำรุดเสียหายต้องซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน
    จัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายและติดป้ายห้ามใช้ลิฟต์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นได้ชัดเจนในระหว่างที่มีการซ่อมบำรุง การตรวจสอบ หรือการทดสอบลิฟต์
    ลิฟต์ที่นายจ้างจะนำมาใช้ต้องมีรายละเอียดคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
    ติดตั้งไว้ในที่มั่นคง แข็งแรง และเหมาะสม
    มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักหรือจำนวนคนโดยสารได้อย่างปลอดภัย
    มีมาตรการป้องกันมิให้ลิฟต์เคลื่อนที่ ในกรณีที่ประตูลิฟต์ยังไม่ปิด
    มีระบบไฟส่องสว่างฉุกเฉินและมีระบบระบายอากาศที่เพียงพอภายในห้องโดยสารของลิฟต์ ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าดับ
    มีระบบแสงหรือเสียงเตือน ในกรณีที่มีการใช้ลิฟต์บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนด
    มีอุปกรณ์ตัดระบบการทำงานของลิฟต์เมื่อมีการใช้ลิฟต์บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนด
    ในการประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ การซ่อมบำรุง และการตรวจสอบลิฟต์ นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะของลิฟต์แต่ละประเภทหรือคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานดังกล่าว นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานที่วิศวกรได้กำหนดขึ้นเป็นหนังสือ และเก็บผลการตรวจสอบและการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
    นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและการทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของลิฟต์โดยวิศวกรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ การทดสอบการรับน้ำหนักของลิฟต์ต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละร้อยของน้ำหนักการใช้งานสูงสุด
    นายจ้างต้องตรวจสอบระบบความปลอดภัยและระบบการทำงานของลิฟต์เป็นประจำทุกเดือน และเก็บผลการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
    นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดดัดแปลงหรือทำให้ลิฟต์รับน้ำหนักได้เกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนด

    ในการตรวจสอบความปลอดภัยของลิฟท์นั้น จะต้องคำนึงถึงรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 
    การออกเเบบฐานลิฟท์ ต้องมีรายการคำนวณโดยวิศวกรโยธา
    การประกอบโครงสร้างทั้งหมด ต้องติดตั้งตามเเบบที่กำหนดไว้ จากโรงงานผู้ผลิต
    การทำงานของชุดลิมิตสวิทช์ตัดอัตโนมัติ ทุกระบบ เเละสวิทช์หยุดฉุกเฉินต้องทำงานเป็นปกติ
    การทำงานของล้อโรลเลอร์ประคองตู้ เเละห้องเกียร์ จะต้องหมุนตามในขณะที่ลิฟท์เคลื่อนที่ขึ้นเเละลง
    ความเรียบร้อยสมบูรณ์ของชุดยึดลิฟท์ เข้ากับอาคารก่อสร้าง 
    ความพร้อมของพนักงานลิฟท์ ซึ่งต้องได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด โดยวิทยากรที่ได้รับการรับรองด้วย
    ลิฟท์โดยสารเเละลิฟท์ขนส่งวัสดุ ควรมีมาตรฐานผู้ผลิต
    การตรวจเช็คดูแลบำรุงรักษาลิฟต์ รายละเอียด ดังต่อไปนี้ 
    ตรวจเช็คการทำงานของวงจรเซฟตี้ทั้งหมด safety circuit 
    ตรวจเช็คสวิทซ์น้าคอนแทก กลไก ของDoor Lock  ทั้งหมด
    ตรวจเช็คสวิทซ์หน้าคอนแทก Car gate switch 
    ตรวจเช็คระดับชั้น
    ตรวจเช็คการทำงาน การตอบสนองของชุด Safety shoes/ Light Ray
    ตรวจเช็คการทำงานของไฟแสงสว่างฉุกเฉิน กระดิ่ง อินเตอร์คอม แบตเตอรี่
    ตรวจเช็คสวิทซ์หยุดฉุกเฉิน
    ตรวจเช็คผ้าเบรกและระยะการทำงานของเบรกพร้อมทำเครื่องหมายทุกครั้ง
    ตรวจเช็คสัญญาณบอกชั้น ทิศทางการขึ้น-ลง และสัญญาณเสียงแจ้งเตือนต่างๆ
    ตรวจเช็คการทำงานของปุ่มกดหน้าชั้น สัญญาณบอกชั้นต่างๆ
    ตรวจเช็คน้ำมันใน Bush-Bearing
    ตรวจเช็คอุณหภูมิมอเตอร์ พัดลมระบายความร้อน
    ตรวจเช็คสภาพและการทำงานของแทคโคเจนเนอเรเตอร์ สายพานแทคโคฯ ยอยแทคโคฯ
    ตรวจเช็คและทดสอบการทำงานของชุดกอฟเวอเนอร์ โดยวิธี Manual
    ตรวจเช็คตัวปรับระยะความเร็วว่ามีการปรับแต่งหรือไม่(พร้อมทำเครื่องหมาย)
    ตรวจเช็คระยะการทำงานของของเบรก คอยล์เบรก
    ตรวจเช็คการทำงานของชุด COP.ทั้งหมดพร้อมตรวจเช็คจุดต่อสาย TERMINALต่างๆ
    ตรวจเช็คการทำงานของ Overload relay และค่าที่ตั้งไว้ 
    ถอดทำความสะอาดฟิวส์ ฐานใส่ฟิวส์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ Fuse/Fuse Holder/Circuit Breaker
    ตรวจเช็คและบันทึกระดับแรงดันไฟฟ้าภายในตู้คอนโทรลไฟฟ้าทั้งหมด AC.&DC.
    ขันตรวจสกรูของจุดต่อสายทั้งหมดภายในตู้คอนโทรลให้แน่น
    ตรวจเช็คและทำความสะอาด รางตัวลิฟต์ รางตุ้มน้ำหนัก
    ตรวจเช็คขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดสลิงขับลิฟต์
    ตรวจเช็คสภาพและจุดยึดของ Compensating  chain
    ตรวจเช็ค ทำความสะอาด รอกขับ Sheave ทุกตัว
    ตรวจความสึกหรอของ Groove wear
    ทำความสะอาด หล่อลื่นของแบริ่งรอกขับ 
    ตรวจเช็คความสึกหรอของเฟืองเกียร์ ตรวจเช็ครอยรั่วซึมและระดับน้ำมันเกียร์
    เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะเวลาที่กำหนด
    ขันตรวจความแน่นของน๊อตยึดต่างๆ
    ตรวจเช็คมอเตอร์พัดลมระบายความร้อน ปริมาณแรงลม
    ตรวจเช็คระดับน้ำมันในซองแบริ่งBush-Bearing
    ถอดรื้อทำความสะอาด ตรวจเช็คผ้าเบรก อัดจารบีของเบรกทั้งหมด
    ทดสอบการทำงานของระบบเบรกที่ Full Speed Empty Car up
    ตรวจเช็คสภาพแบริ่งของมอเตอร์
       บริการตรวจทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับลิฟท์ ออกเอกสาร ปจ.1
    ลิฟต์ทุกชนิด
    ลิฟท์โรงงานทั่วไป
    ลิฟท์ระบบไฮโดรลิค
    ลิฟท์ขนของ
    ลิฟท์คลังสินค้า
    ลิฟท์ยกสินค้า
    ลิฟท์บรรทุกของ
    รอกทุกชนิด
    ปั้นจั่นทุกชนิด
    Hoist  รอก
    Gantry Crane / เครนแบบมีขา
    Overhead Crane/เครนเหนือศรีษะ 
    Electric  chain Hoist / รอกโซ่ไฟฟ้า,
    Semi Gantry Crane / เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบขาสูง
    Portal Crane /เครนล้อเข็น 4 ขา
    Floating Crane / เครนลอยน้ำ
    ส่วนประกอบของลิฟต์
    1. เครื่องจักรขับลิฟต์ (Traction Machine)เป็นอุปกรณ์หลักของระบบลิฟต์ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนลิฟต์ขึ้นลง
    2. ชุดลูกถ่วง (Counterweight)ประกอบด้วยโครงเหล็กซึ่งบรรจุก้อนน้ำหนักที่ทำด้วยเหล็กหล่อ ทำหน้าที่ถ่วงดุลกับน้ำหนักของติ้ลฟต์และจำนวนผู้โดยสารเพื่อให้มอเตอร์ลิฟต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
    3. รางลิฟต์ (Guide Rail)เป็นเหล็กรูปตัว T ทำหน้าที่นำร่องให้ลิฟต์วิ่งขึ้นลงในแนวที่กำหนดและรักษาตำแหน่งตัวลิฟต์ให้ทรงตัวและได้ศูนย์ตลอดเวลา รางลิฟต์มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดของตัวลิฟต์ น้ำหนักบรรทุกและความเร็วลิฟต์ เป็นต้น โดยทั่วไประบบลิฟต์จะมีรางขนาดใหญ่สำหรับนำร่องตัวลิฟต์และรางขนาดเล็กกว่าสำหรับนำร่องชุดลูกถ่วง
    4. ตู้โดยสาร (Lift Car)ประกอบไปด้วยห้องโดยสารที่ยึดกับโครงเหล็กกล้าที่แข็งแรง พร้อมอุปกรณ์นิรภัย (Safety Gear) ป้องกันไม่ให้ลิฟต์ตก เมื่อสลิงขาดตู้โดยสารมีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทและน้ำหนักบรรทุกของลิฟต์
    5. บัฟเฟอร์ (Buffer)เป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ตัวลิฟต์กระแทกกับพื้นบ่อลิฟต์ กรณีลิฟต์วิ่งเลยชั้นล่างสุดเนื่องจากความผิดพลาดของระบบควบคุม บัฟเฟอร์จะผ่อนแรงกระแทกเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร
    6. ตู้คอนโทรล (Controller)ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของลิฟต์ทั้งระบบ เช่น ควบคุมความเร็ว ควบคุมการเปิดปิดประตูจัดคิวการวิ่งรับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น และชนิดของคอนโทรลดังกล่าวยังแตกย่อยออกตามประเภทระบบขับเคลื่อนด้วย เช่น VVVF , DC Drive เป็นต้น
    7. ประตูหน้าชั้น (Landing Door)ระบบลิฟต์ทั่วไปจะมีประตู 2 ส่วน คือประตูในลิฟต์ (Car Door) และประตูหน้าชั้นต่างๆ ตามจำนวนชั้นจอดของลิฟต์ ปกติประตูหน้าชั้นจะเปิดปิดได้ก็ต่อเมื่อตัวลิฟต์จะต้องจอดอยู่ที่ชั้นนั้นและประตูที่ชั้นอื่นจะเปิดไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้งานมีความปลอดภัยสูงสุด ประตูลิฟต์มีหลายแบบ ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปจะมี
    – เปิดจากกึ่งกลาง (Center Opening)
    – เปิดจากด้านข้าง (Slide Opening)
    8. สลิงลิฟต์ (Wire Rope)ใช้สำหรับแขวนตัวลิฟต์และชุดลูกถ่วง และฉุดให้ลิฟต์ขึ้นลงด้วยแรงเสียดทานของลวดสลิงกับร่องของมูลเล่ย์
    9. ปุ่มกด (Button)ใช้สำหรับเรียกลิฟต์รับส่งไปยังชั้นต่างๆ ที่ต้องการ แผงปุ่มกดมีอยู่ 2 ส่วนคือ
    – แผงปุ่มกดในลิฟต์ (Car Operating Panel)
    ประกอบด้วยปุ่มเรียกไปตามชั้นต่างๆ ปุ่มปิด เปิดประตู ปุ่มแจ้งเหตุและอินเตอร์คอม
    – แผงปุ่มกดหน้าชั้น (Hall Button)
    ประกอบด้วยปุ่มเรียกลิฟต์มารับขาขึ้นและขาลงอย่างละปุ่ม
    10. สายเคเบิล (Travelling Cable)เป็นสายไฟที่วิ่งขึ้นลงพร้อมกับตัวลิฟต์ ทำหน้าที่เชื่อมสัญญาณ เช่น ปุ่มกดและสวิทซ์ต่างๆ ที่ตู้ลิฟต์กับตู้คอนโทรลในห้องเครื่อง

  • บริการการออกแบบ ติดตั้ง งานระบบน้ำดับเพลิงรับเหมางานระบบดับเพลิง Fire Pump และงานติดตั้งระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิง SPRINKLER SYSTEM

    บริการการออกแบบ ติดตั้ง งานระบบน้ำดับเพลิงรับเหมางานระบบดับเพลิง Fire Pump และงานติดตั้งระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิง SPRINKLER SYSTEM

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    Fire  Protection System

        บริการตรวจสอบบำรุงรักษา และออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน
    และระงับอัคคีภัย เราให้บริการจำหน่ายปลีก-ส่ง ถังดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงทุกชนิดตู้ดับเพลิง สายดับเพลิง  หัวฉีดดับเพลิง ปั๊มน้ำดับเพลิง ไฟอราม ชุดดับเพลิง ไฟฉุกเฉิน ที่ได้รับมาตรฐานจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และบริการการออกแบบ ติดตั้ง งานระบบดับเพลิง พัดลมระบายอากาศในโรงงาน  ระบบไฟฟ้า ระบบสัญญาญเตือนภัยต่างๆ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาฟรี !!!

             เราผ่านการรับรองระบบ การบริหารงานคุณภาพ ISO 9001;2015 ตามมาตรฐานสากลจาก TÜV Rheinland Thailand เป็นมาตรฐานที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ ทำให้ลูกค้ามั่นใจในบริการของเรา

    Fire  pump system งานระบบดับเพลิง 
    ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล,เครื่องยนต์เบนซิน,และเครื่องดับเพลิงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
    ติดตั้งเครื่องสูบนำ้เพิ่มแรงดัน
    ติดตั้งประกอบตัวเครื่องสูบและระบบท่อและอุปกรณ์ภายในระบบเช่น ท่อส่งน้ำหลัก , ท่อย่อย , วาล์วน้ำ,เช็ควาล์ว ,ฟุตวาล์ว,เซฟตี้วาล์ว ,รวมทั้งอุปกรณ์ท่ออ่อน , ข้องอ , ข้อต่อ ต่างๆ อุปกรณ์รวมไปถึงเครื่องมือวัดแรงดัน
    ติดตั้งระบบสัญญานเตือนอัคคีภัยระบบแบ่งโซลการทำงาน ( Fire Alarm Control Panel )
    Fire Fighting system งานติดตั้งตู้ดับเพลิง
    บริการติดตั้งตู้ดับเพลิง ตามแบบและขนาดที่ต้องการ
    ตู้เก็บเครื่องดับเพลิง แบบเดี่ยว (Fire Extinguisher Cabinet)
    ติดตั้งตู้เก็บเครื่องดับเพลิง แบบคู่ (Fire Extinguisher Cabinet)
    ติดตั้งตู้เก็บสายดับเพลิง (Fire Hose Cabinet)
    ตู้เก็บสายดับเพลิงและอุปกรณ์ (Fire Hose Rack)
    ตู้เก็บขวานดับเพลิง (Fire Axe Cabinet)
    ตู้เก็บชุดดับเพลิง (Fire Cloth Cabinet)
     Fire Extinguisher  จำหน่ายถังดับเพลิง 
     บริการเติมน้ำยาผงเคมี
     
     
    เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ( Dry chemical )
    เครื่องดับเพลิงเคมี A.B.C. มีประสิทธิภาพสูง ในการดับเพลิง
    สามารถดับเพลิง Class A B C ไม้,ผ้า,กระดาษ,พลาสติก,ไฟฟ้าช๊อต, น้ำมัน,แก๊ส และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
    ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ISO 9001 : 2008
    เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานความสามารถการดับเพลิงสูง FIRE RATING ตั้งแต่ 2A-2B ถึง 10 A 60B
    ได้ตามมาตรฐานกฎกระทรวง และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
     
    เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( Co-2 )
    มีประสิทธิภาพดับไฟที่เกิดจากน้ำมัน แก๊ส และไฟฟ้าช๊อต
    เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO-2
    ชนิดตัวถังอลูมินั่มอัลลอยด์
    ฉีดแล้วจะระเหยหายไปได้เอง โดย ไม่ทิ้งคราบสกปรก และไม่ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ 
    เหมาะสำหรับใช้ในห้องคอลโทรลไฟฟ้า ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเก็บวัสดุไวไฟ เครื่องจักร
    เก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
    เครื่องดับเพลิงชนิดโฟม
    สำหรับดับเพลิงขั้นต้นกับบริเวณพื้นที่ที่มีการเก็บสต็อคสารไวไฟ จำพวกของเหลว เช่น น้ำมัน , ทินเนอร์, 
    มีประสิทธิภาพในการดับเพลิง จำพวก ไม้ , ผ้า ,กระดาษ ,พลาสติก , ยาง , น้ำมันเชื้อเพลิง และสารเคมีทุกชนิด
    มีส่วนของน้ำช่วยลดอุณภูมิ
    มีคุณสมบัติพิเศษ โดยมีแผ่นฟิล์มน้ำปิดไอเชื้อเพลิง ปกคลุมมิให้ไฟย้อนติดขึ้นมาอีก

     เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน
    ชนิดตัวถังแสตนเลส
    มีคุณสมบัติพิเศษในการดับเพลิงจำพวกของแข็งติดไฟได้ดี Fire Class A
    เหมาะสำหรับติดตั้ง ในห้องเก็บสินค้า หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่อาจจะเกิดเพลิงไหม้ความทนทานป้องกันการกัดกร่อน และการเป็นสนิม

  • บริการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน Monitoring work place

    บริการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน Monitoring work place

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในสถานประกอบกิจการตรวจวัดแสง เสียง ความร้อน  สารเคมี  Monitoring work place
    ความร้อนสภาพความร้อน
    ทำการโดยวัดค่า  WBGT  ต่อจุด
    ความเข้มของแสงสว่าง 
    ตรวจวัด ณ   จุดที่ทำงาน 
    เฉลี่ยบริเวณและพื้นที่                
    แสงสว่างที่หน้างานและบริเวณโดยรอบ
    ระดับเสียง
    ระดับเสียงดังเฉลี่ยตลอดการทำงาน  8  ชั่วโมง
    ระดับเสียงแบบพื้นที่ (แยกความถี่) ต่อจุด
    ระดับเสียงดังสะสมที่ตัวบุคคล 
    สารเคมี
    ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมี
    ปริมาณความเข้มข้นฝุ่น
    ปริมาณสารเคมีเฉลี่ยตลอดการทำงานต่อพารามิเตอร์

    บริการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้น (Walk Through Survey)
    สำรวจสภาพพื้นที่การปฎิบัติงาน, สภาพการทำงานและกำหนดจุดที่จะดำเนินการตรวจวัดและเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจวัดและประเมินผล
    บริการตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไป (Ambient Air Monitoring) 
    ระดับเสียงรบกวน  ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 Hour) 
    ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 100 ไมครอน
    ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีต่างๆ 
    ปริมาณความเข้มข้นของมลสารพิษ ก๊าซพิษ 
    บริการตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศในปล่องระบายอากาศ (Stack Monitoring)
    ปริมาณความเข้มข้นของสารโลหะหนักที่ออกจากปล่องระบาย
    ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตามมาตรฐาน
    ปริมาณความเข้มข้นของสาร Vapor
    บริการตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality)
    อุณหภูมิ
    ความชื้นสัมพัทธ์
    ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศอนุภาคขนาดเล็ก

    บริการตรวจวัดคุณภาพน้ำ (Water and Waste Water)
    คุณภาพน้ำบริโภค 
    คุณภาพน้ำเสีย-น้ำทิ้ง

  • หลักสูตร : การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    หลักสูตร : การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นที่มาของการประเมินความเสี่ยงประเภท เพื่อสร้างความเข้าใจให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมด เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ให้กับหัวหน้างาน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดการปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างปลอดภัย โดยใช้เทคนิคและหลักการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย อันจะเป็นแนวทางและวิธีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานต่อไป

    วัตถุประสงค์
    เรียนรู้อันตรายในสถานที่ทำงาน เพื่อหาวิธีป้องกันจากอันตรายนั้นๆ
    ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความสามารถจัดการกับความเสี่ยงและสามรถวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    หัวข้อการอบรม
    แนวคิดการจัดการความเสี่ยง
    คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    การใช้ วิธีการชี้บ่งอันตรายและตัวอย่างการชี้บ่งอันตราย
     การประเมินความเสี่ยง
    เทคนิคการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
    การจัดทำแผนงานบริหารการจัดการความเสี่ยง แผนงานลดความเสี่ยง แผนงานควบคุมความเสี่ยง
    การทบทวนการจัดการความเสี่ยง
     การนำแผนงานบริหารการจัดการความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้ในองค์กร
    กลุ่มเป้าหมาย
     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
     กลุ่มลูกจ้าง หัวหน้างาน 
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร 6 ชม. 
    การวัดผล
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงาน ผู้ผ่านการฝึกอบรม
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี