Tag: Process Audit Course Online

  • หลักสูตร 6 Big Losses Productivity Program อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร 6 Big Losses Productivity Program อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

               ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องของความสูญเสียหลักที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ลักษณะ หรือที่เราเรียกว่า 6
          Big Losses นั้นคือ ความสูญเสีย 6 ประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องจักร  ซึ่งสาเหตุที่ทำให้
          เราต้องเรียนรู้เรื่องของความสูญเสียเหล่านี้ก็เนื่องมากจาก ความสูญเสียต่างๆ ได้แก่ เป็นสาเหตุที่ทำให้
          ประสิทธิภาพการทำงานและอายุการใช้งานของเครื่องจักรในองค์กรด้อยลง และมีความอันตรายต่อการใช้
          งานมากขึ้น   หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักร เราคงต้องการทำงานกับเครื่องจักรที่เรา
          ทราบนิสัยใจคอ การมีความรู้เรื่องทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องของความสูญเสีย 6 ประการนี้ นอกจากจากทำให้
          เราทราบพฤติกรรมเครื่องจักรที่เราทำงานอยู่ด้วยแล้ว ยังเป็นความรู้พื้นฐานในการหาแนวทางในการ
          ปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพ และผู้ทำงานกับเครื่องจักรก็มี
          ความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรมากขึ้นอีกด้วย

          วัตถุประสงค์

    เพื่อเรียนรู้ความหมาย เข้าใจ ความสูญเสีย ในแต่ละประเภท ในความสูญเสียทั้ง 6 ประการ
    เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้กับการดูแลเครื่องจักรอย่างอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตลอดจนสามารถสร้างระบบการคงสภาพการดูแลเครื่องจักรได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

    หัวข้อการอบรม
    แนวคิดและหลักการด้านการลดความสูญเสียเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
    แนวคิดการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM)และความสูญเสียหลัก 6 ประการ (6 Big Losses)
    ประเภทความสูญเสียหลัก 6 ประการ
    ความสูญเสียประเภทที่ 1: ความขัดข้องของเครื่องจักร (Equipment Breakdown)
    ความสูญเสียประเภทที่ 2: การปรับตั้งเครื่อง (Setup & Adjustments)
    ความสูญเสียประเภทที่ 3: การหยุดของเครื่องจักรเล็กน้อย (Idling & Minor Stoppage)
    ความสูญเสียประเภทที่ 4: ความเร็วไม่ได้ตามที่กำหนด (Reduced Speed)
    ความสูญเสียประเภทที่ 5: ความสูญเสียจากของเสียที่เกิดขณะเริ่มเดินเครื่องจักร (Start–up Defects)
    ความสูญเสียประเภทที่ 6: ความสูญเสียจากการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต (Production Defects)
    การคำนวณค่า OEE
    กลุ่มเป้าหมาย
    บุคลากรที่มีพื้นฐานด้านการจัดการ หรือวางแผนการทำงาน
    บุคลากรที่มีพื้นฐานด้านการบริหารจัดการเครื่องจักรในการผลิต
    วิศวกร
    บุคคลที่สนใจด้านการลดความสูญเสีย
    ระยะเวลาในการอบรม    

    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    6 Big Losses
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร 7 Wastes Reduction Productivity Program อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร 7 Wastes Reduction Productivity Program อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     7 Wastes Reduction เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการกำจัดความสูญเสียและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกิจกรรมหรืองานที่ดำเนินการ ในกระบวนการผลิตมักจะพบว่ามีความสูญเสียต่างๆแฝงอยู่ไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงมีแนวคิดเพื่อพยายามจะลดความสูญเสียเหล่านี้เกิดขึ้นมากมาย และแนวคิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือการลดสูญเสียในการผลิตทั้ง 7 ประการนั่นเอง

    วัตถุประสงค์
    เพื่อการเรียนรู้ และตระหนักถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการทำงาน
    เพื่อให้เกิดความเข้าใจการสูญเสีย 7 ประการ และเทคนิคที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดความสูญเสีย
    เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน กระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ

    หัวข้อการอบรม
    แนวคิดพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิตให้องค์กร
    ความสูญเสีย 7 ประการที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
    เทคนิคที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อลดความสูญเสีย 7 ประการ
    กลุ่มเป้าหมาย
    บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน เกี่ยวข้องในการปรับปรุงองค์กร
    วิศวกร
    หัวหน้างาน
    ผู้ที่สนใจ
    ระยะเวลาในการอบรม    

    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    7 Wastes Reduction
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร Quality Control Circle (QCC) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร Quality Control Circle (QCC) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                    องค์กรจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการมากขึ้น ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งการพัฒนาให้ได้มาซึ่งคุณภาพนั้นสามารถทำได้โดยการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วย “พนักงาน” ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ, การปรับปรุงกระบวนการทำงานและการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร “การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่ม QCC” ให้ประสบความสำเร็จ องค์กรต้องมีขั้นตอนดำเนินการตั้งแต่การจัดตั้งกลุ่ม การจดทะเบียนกลุ่ม การให้ความรู้และประโยชน์ของการทำกิจกรรม QCC. การสร้างกระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นระบบและขั้นตอน ตลอดจนสร้างระบบจูงใจให้พนักงาน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม  นโยบายส่งเสริมที่ชัดเจนและสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากฝ่ายบริหารที่ส่งผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม
    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ทราบแนวคิดและเข้าใจหลักการของกิจกรรมกลุ่ม QCC และสามารถทำงานเป็นทีม
    เพื่อให้สามารถ บุราณการ กิจกรรม QCC ในการทำงานขององค์กรโดยทราบรายละเอียดแผนงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม
    เพื่อให้ดำเนินกิจกรรม QCC และมีทักษะในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในงานที่ตนรับผิดชอบ

     หัวข้อการอบรม

    Quality Concept
    PDCA Cycle
    Quality Control Circle
    Root Cause Analysis
    Why Why Analysis
    QC 7 Tools
    QCC Meeting & Presentation
     กลุ่มเป้าหมาย

    บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน เกี่ยวข้องในการปรับปรุงองค์กร ป้องกันปัญหาให้กับองค์กร
     วิศวกร
    หัวหน้างาน
    ผู้ที่สนใจ
    ระยะเวลาในการอบรม    

    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    Quality Control Circle (QCC)
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร VDA 6.3 – Qualification for Process Auditor อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร VDA 6.3 – Qualification for Process Auditor อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                    หลักสูตรนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นผู้ตรวจสอบกระบวนการ
          ที่ได้รับการรับรอง VDA 6.3 การตรวจสอบกระบวนการเป็นการตรวจสอบที่เชื่อมโยงระหว่างการตรวจ
          สอบระบบและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของ
          กระบวนการในการวางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์และการให้บริการ
                  VDA (Verband der deutschenAutomobilindustrie E.V.) คือ สมาคมการค้าเยอรมันสำหรับ
          อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นผู้จัดทำมาตรฐานการจัดการคุณภาพในอุสาหกรรมยานยนต์โดยกำหนดในชุด
          ของ VDA 6 ซึ่ง VDA 6.3 Process Audit เป็นส่วนหนึ่งในนั้นผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศเยอรมนี ได้นำ
          VDA 6.3 มาใช้การตรวจประเมินผู้ส่งมอบในระดับต่างๆ (Tier I, Tier II, etc.) และคาดหวังให้ผู้ส่งมอบ
          ได้นำ VDA 6.3 มาตรวจประเมินตนเองและตรวจประเมินผู้ส่งมอบในระดับถัดไปด้วยเช่นกัน

           วัตถุประสงค์

    เพื่อเรียนรู้ และเข้าใจหลักการข้อมูลพื้นฐานทั่วไปสำหรับผู้ตรวจสอบกระบวนการ VDA 6.3
    บนพื้นฐานของวิธีการกระบวนการและความต้องการของลูกค้านั้นการฝึกอบรมนี้จะสอนพื้นฐานสำหรับการเป็นผู้ตรวจสอบกระบวนการตาม VDA 6.3
    เพื่อเรียนรู้ถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นฐานของเทคนิคการตรวจสอบรวมถึงข้อกำหนดทั่วไปวิธีการหลักการและการวิเคราะห์ความเสี่ยง
    เพื่อให้ช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์และนำไปใช้และลำดับความสำคัญในสิ่งที่จำเป็นในการตรวจสอบกระบวนการอย่างถูกต้อง
    เพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติสำหรับการนำการตรวจสอบกระบวนการภายในและภายนอกตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
    ช่วยให้การตรวจสอบกระบวนการนี้ในองค์กรของท่านและในห่วงโซ่อุปทานเพื่อระบุความเสี่ยงและเพิ่งศักยภาพให้กับองค์กรของท่าน

     หัวข้อการอบรม

    การเชื่อมต่อกับข้อกำหนด ISO 9001, IATF 16949 เป็นต้น
    ภาพรวมของการตรวจสอบประเภทต่างๆและการอธิบายความแตกต่าง
    ภาพรวม: เนื้อหาของแต่ละบท VDA 6.3
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการกระบวนการสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามแบบจำลองเต่า
    กระบวนการตรวจสอบจากโปรแกรมการตรวจสอบไปจนถึงความสมบูรณ์ของการตรวจสอบ
    การวางแผนและดำเนินการตรวจสอบกระบวนการ
    รูปแบบการประเมินผลของการตรวจสอบกระบวนการ
    เทคนิคการสัมภาษณ์สำหรับผู้ตรวจสอบกระบวนการ
     จรรยาบรรณสำหรับผู้ตรวจสอบกระบวนการ
    VDA 6.3 วงจรการตรวจสอบกระบวนการ
    การสรุปสั้น ๆ ของเนื้อหาสำคัญของ VDA 6.3
    เนื้อหาขององค์ประกอบกระบวนการ 2 – การจัดการโครงการ
    เนื้อหาขององค์ประกอบกระบวนการ 3 – การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
    เนื้อหาขององค์ประกอบกระบวนการ 4 – การตระหนักถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
    เนื้อหาขององค์ประกอบกระบวนการ 5 – การจัดการซัพพลายเออร์
    เนื้อหาขององค์ประกอบกระบวนการ 6 – การผลิตการวิเคราะห์กระบวนการ
    เนื้อหาขององค์ประกอบกระบวนการ 7 – การบริการลูกค้า
    ภาพรวมของเนื้อหาของการวิเคราะห์ความล้มเหลวของขอบเขตข้อมูล VDA
    การจัดทำรายงานการตรวจสอบ การจัดทำเอกสาร ให้สมบูรณ์
    เนื้อหาขององค์ประกอบกระบวนการ 1 – การวิเคราะห์ที่มีศักยภาพ
    คำอธิบายของ SI ปัจจุบันและคำถามที่พบบ่อย
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้เข้าร่วมจากอุตสาหกรรมยานยนต์ รถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนเพื่อยานยนต์ ควรมีพื้นฐานข้อกำหนด ISO 9001 หรือ IATF 16949
    ระยะเวลาในการอบรม    

    หลักสูตร 2  วัน (09.00 – 16.00 น.) (12 ชั่วโมง)
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    VDA 6.3 – Qualification for Process Auditor
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร CQI – 9 Special Process Heat Treat System Assessment อบรมออนไลน์ อบรมด่วนอบรม Pubilc 5,500 ต่อ ท่าน

    หลักสูตร CQI – 9 Special Process Heat Treat System Assessment อบรมออนไลน์ อบรมด่วนอบรม Pubilc 5,500 ต่อ ท่าน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                 สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ในอเมริกาเหนือ AIAG (Automotive Industry Action Group) เป็นผู้จัดทำ CQI-Standards (“CQI” = การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องซึ่งจัดทำโดย OEM และ Supplier เป้าหมายของ HTSA คือการพัฒนาระบบบริหารกระบวนการชุบแข็ง (Heat Treatment) ที่ให้การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเน้นการป้องกันข้อบกพร่องและการลดการผันแปรและของเสียในห่วงโซ่อุปทาน HTSA มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แนวทางทั่วไปสำหรับระบบการจัดการกระบวนการชุบแข็ง (Heat Treatment) สำหรับองค์กรด้านการผลิตและบริการด้านยานยนต์

    วัตถุประสงค์
    ผู้เข้าร่วมได้รับทราบถึงพื้นฐานความรู้ของวิธีการประเมินระบบการอบชุบด้วยความร้อนตามมาตรฐาน CQI – 9
    ผู้เข้าร่วมได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสร้าง หรือรักษาระบบการจัดการกระบวนการอบชุบด้วยความร้อน สำหรับองค์กรด้านการผลิตและบริการด้านยานยนต์
    ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรม มาปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารกระบวนการชุบแข็ง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้า
    ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรม มาปรับปรุงกระบวนการชุบแข็งอย่างต่อเนื่อง เน้นการป้องกันข้อบกพร่องและลดการผันแปร ลดของเสียในห่วงโซ่อุปาทาน เพื่อสนับสนุนระบบบริหารคุณภาพการผลิตโดยรวม

    หัวข้อการอบรม
    แนะนำเบื้องต้น (Introduction)
    ใบปะหน้า (Cover Sheet)o   ข้อมูลพื้นฐานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอบชุบด้วยความร้อน
    (Basic data of the heat treatment organization)
    o   พื้นที่ที่ได้รับการตรวจติดตามอ้างอิงจากลำดับตารางกระบวนการ CQI – 9 
    (Audited areas according to the respective CQI-9 process table)
    o   ข้อมูลสำหรับการติดต่อ (ชื่อผู้ตรวจ, ชื่อบริษัท, ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง)
    (Contact data (auditor, company, participants))
    o   Results of the CQI audit (ผลลัพธ์ของการตรวจติดตามตามมาตรฐาน CQI)
    องค์ประกอบของการตรวจติดตามในส่วนที่ 1 – 3 (Audit Elements Paragraphs 1-3)o   ส่วนที่1: ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร และการวางแผนคุณภาพ
    (Paragraph 1: Management responsibility and quality planning)

    o   ส่วนที่ 2: ความรับผิดชอบในการดูแลจัดการวัตถุดิบและการไหลของวัตถุดิบ
    Paragraph 2: Responsibility for material flow and material handling

    o   ส่วนที่ 3: เครื่องมือ อุปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานในการอบชุบด้วยความร้อน
    (Paragraph 3: Heat treatment facility and equipment)

    o   ส่วนที่ 3.15: คำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอบชุบด้วยความร้อนโดยการเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้า
    (Paragraph 3.15: Additional questions concerning induction heat treatment)

    ส่วนที่ 4: การตรวจติดตาม Job งาน (Paragraph 4: Job Audit)
    o   ข้อมูลเบื้อต้นที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ทำการตรวจติดต                                ตารางกระบวนการ A (Process Table A)
    ตารางกระบวนการ B (Process Table B)
    ตารางกระบวนการ C (Process Table C)
    ตารางกระบวนการ D (Process Table D)
    ตารางกระบวนการ E  (Process Table E)
    ตารางกระบวนการ F (Process Table F)
    ตารางกระบวนการ G (Process Table G)
    ตารางกระบวนการ H (Process Table H)
    กลุ่มเป้าหมาย
    สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการอบชุบด้วยความร้อน (Heat Treatment)
    บุคลากรในกิจกรรมการตรวจสอบ ทดสอบหลังกระบวนการอบชุบด้วยความร้อน (Heat Treatment) ทั้งระหว่างกระบวนการและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการอบชุบด้วยความร้อน
    บุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในที่ต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการอบชุบด้วยความร้อน (Heat Treatment)
    ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบผู้จัดหาภายนอก ณ สถานที่ผลิต ที่ทำหน้าที่ให้บริการงานด้านอบชุบความร้อน (Heat Treatment) ให้กับองค์กร
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    ระยะเวลาในการอบรม    

    หลักสูตร 2  วัน (09.00 – 16.00 น.) (12 ชั่วโมง)
     เนื้อหาการฝึกอบรม
    CQI – 9 Special Process Heat Treat System Assessment
     การแต่งกายผู้เข้าอบรม 
    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี