Tag: Requirement IATF 16949 2016

  • หลักสูตร Introduction to Document Control for QMS, EMS & OHS อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร Introduction to Document Control for QMS, EMS & OHS อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                       การจัดการและบริหารเอกสารอย่างมีประสิทธิภาพนับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำงาน
          เนื่องจากการดำเนินงานขององค์กรต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนไม่มากก็น้อยในทุกกระบวนการ
                   หลักสูตรนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้าง พัฒนา บุคลากรขององค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจและมี
          ทักษะในการบริหารจัดการเอกสารอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งการจัดทำ จัดเก็บ ค้นหาได้รวดเร็วครบถ้วน มี
          ประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับระบบบริหารตามมาตรฐานทางองค์กรนำไปประยุกต์ใช้ นอกจากการฝึก
          อบรมจะครอบคลุมเนื้อหาที่จำเป็นในการบริหารจัดการงานเอกสาร ขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการเอกสาร
          การจัดทำ เรียนรู้ระบบการจัดการเอกสาร รวมถึงกรณีศึกษาและการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าสัมมนามีความ
          เข้าใจสูงสุดและสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติงานอีกด้วย

          วัตถุประสงค์

    เพื่อให้เข้าใจหลักการจัดทำเอกสาร และควบคุมเอกสาร จัดเก็บเอกสารทั้งภายในและภายนอก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    สามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับระบบบริหารที่ทางองค์กรดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล

           หัวข้อการอบรม

    ข้อกำหนดสำหรับระบบบริหารเอกสารที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานที่ทำการอบรม
    กระบวนการของการจัดการเอกสาร
    ข้อบังคับสำหรับเอกสารแต่ละประเภท
    การควบคุมเอกสาร
    การควบคุมบันทึก
    รูปแบบของการจัดการเอกสารและข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบ
    กลุ่มเป้าหมาย
    เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเอกสารของระบบบริหารตามมาตรฐานที่ฝึกอบรม
    เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสารขององค์กรระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ
    บุคคลที่รับผิดชอบในการใช้เอกสารขององค์กร
    ระยะเวลาในการอบรม    

    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    Introduction to Document Control for QMS, EMS & OHS
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร Management Representative For QMS, EMS & OHS อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร Management Representative For QMS, EMS & OHS อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                 ตัวแทนผู้บริหารสำหรับช่วยผู้บริหารสูงสุดดูแลระบบบริหาร จะช่วยให้องค์กรมีผู้เชี่ยวชาญที่จำเป็น
          เพื่อสนับสนุนองค์กรในการสร้างการดำเนินการจัดการและการบำรุงรักษาระบบการจัดการตามมาตรฐาน
          ต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ระหว่างการฝึกอบรมนี้คุณจะได้รับความ เข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับ
          แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของระบบการจัดการและปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้าองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วน
          เสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสิทธิภาพโดยรวมและประสิทธิผล 

          วัตถุประสงค์

    รับทราบความสัมพันธ์ระหว่าง  ISO 9001 และมาตรฐานอื่น ๆ และกรอบการกำกับดูแล
    ต้นแบบแนวคิดแนวทางวิธีการและเทคนิคที่ใช้สำหรับการดำเนินการและการจัดการที่มีประสิทธิภาพของระบบบริหารในมุมมองต่างๆ
    เรียนรู้วิธีตีความข้อกำหนดในแต่ละมาตรฐานและในบริบทเฉพาะขององค์กร
    เรียนรู้วิธีการสนับสนุนองค์กรในการวางแผนดำเนินการจัดการติดตามและบำรุงรักษาระบบบริหารคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
    ได้รับความเชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำแก่องค์กรในการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของระบบการจัดการคุณภาพ

    หั    หัวข้อการอบรม

    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกำหนดแต่ละมาตรฐาน (เรียนหลักสูตรละมาตรฐาน)
    การเริ่มต้นจัดทำระบบบริหารในแต่ละมาตรฐาน
    การวางแผนการดำเนินการตามระบบบริหารแต่ละมาตรฐาน
    การนำ ระบบบริหารไปปฏิบัติ
    การตรวจสอบระบบบริหาร การวัดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
    การเตรียมการสำหรับการตรวจรับรองระบบ
    สรุปเนื้อหา อธิบายเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    ทดสอบเพื่อออกใบประกาศนียบัตร 
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้จัดการหรือที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องในการจัดการคุณภาพ
    ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพให้เชี่ยวชาญ
    บุคคลที่รับผิดชอบในการรักษาความสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพ
    ระยะเวลาในการอบรม    

    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    Management Representative for QMS, EMS & OHS
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
     การแต่งกายผู้เข้าอบรม 
    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร Change management for QMS, EMS & OHS อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร Change management for QMS, EMS & OHS อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

      ในการดำเนินธุรกิจนั้น การเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับสภาวการณ์ในปัจจุบันให้องค์กรสามารถก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงนั้นไปได้อย่างราบรื่น เป็นเรื่องที่องค์กรต้องเผชิญอยู่ตลอดช่วงของการดำเนินธุรกิจอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้บริหารในระดับต่างๆ ขององค์กรจึงต้องเข้าใจหลักการและเรียนรู้เทคนิคในการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตระหนักในความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร และสอดคล้องกับระบบบริหารที่องค์กรนำมาประยุกต์ใช้อย่างสอดคล้องด้วย

     วัตถุประสงค์
    เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงความจำเป็นและรับมือการเปลี่ยนแปลง
    เพื่อเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานเพื่อปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีการ เปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อองค์กรในปัจจุบัน
    เพื่อสร้างภาวะผู้นำและทัศนคติต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง
    เพื่อสามารถมีทักษะในการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านรูปแบบ ผู้คน ข้อมูลและเครื่องมือต่างๆได้อย่างเป็นระบบ

    หัวข้อฝึกอบรม:

    ความหมายและแนวคิดของการจัดการและบริหารการเปลี่ยนแปลง
    ความเชื่อมโยงระบบบริหารองค์กร เช่นระบบบริหารงาน บุคลากร ระบบบริหารคุณภาพหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลง
    ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change Drivers)
    ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
    ประเภทระดับและการตอบสนองของการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
    บทบาทของการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่างๆ
    รูปแบบการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
    การพัฒนาตนเองสู่การเปลี่ยนแปลง
    ผู้นำการเปลี่ยนแปลง / คุณลักษณะของผู้นำ
    สาเหตุ และ เทคนิคการลดแรงต้าน
    วิธีการ/กระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบ ผู้คน ข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ
    Workshop: การระดมสมอง และวางแผนการบริหารเปลี่ยนแปลง
    กรณีศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลง
    กลุ่มเป้าหมาย 

    ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ
    วิศวกร หัวหน้างาน
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม 
    1 วัน  ( เวลา 09.00 – 16.00 น.)
    เนื้อหาการฝึกอบรม ;
    Change management for QMS, EMS & OHS
    วิธีการอบรม :

    การบรรยาย
    Workshop 
    การทำกิจกรรมกลุ่ม
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย Occupation Health and Safety Management Repressentative (OHSMR) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย Occupation Health and Safety Management Repressentative (OHSMR) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

            องค์กรได้กำหนด  บทบาท  ความรับผิดชอบ  และอำนาจหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ประกาศแต่งตั้งต่าง ๆ ได้รับการสื่อสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารระดับสูง  ได้ดำเนินการแต่งตั้ง  ผู้แทนฝ่ายบริหารเพื่อให้มั่นใจว่า  ระบบการจัดการต่าง ๆ ได้ถูกจัดตั้ง  นำไปปฏิบัติ  ได้รับการรักษาไว้ และผู้บริหารจะได้รับการรายงานเพื่อการตัดสินใจทบทวน  และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงบุคลากรเทคโนโลยี  และงบประมาณอย่างเพียงพอที่จะให้การดำเนินงาน  การนำไปปฏิบัติได้ย่างมีประสิทธิผล ตัวแทนฝ่ายบริหารการจัดการความปลอดภัยมีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดทำและควบคุมระบบให้มีประสิทธิผล ดังนั้นบุคคลากรที่ทำหน้าที่ตัวแทนฝ่ายบริหารจำเป็นต้องทราบหน้าที่ความรับผิดชอบการจัดทำและบริหารโครงการ รวมถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร ทักษะความรู้ที่ถูกต้องของผู้ดำรงตำแหน่งตัวแทนฝ่ายบริหารจะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาและรักษาระบบการบริหารเพื่อส่งผลให้องค์กรสามารถแข่งขันและได้รับการรับรอง หรือ คงธำรงรักษาระบบการบริหารสิ่งแวดล้อม

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อให้ตัวแทนฝ่ายบริหารการจัดการความปลอดภัยมีความรู้และเข้าใจในการบริหารงาน
    เพื่อให้ตัวแทนฝ่ายบริหารการจัดการความปลอดภัย เข้าใจ บทบาทและความรับผิดชอบงาน
    เพื่อให้ตัวแทนฝ่ายบริหารดำเนินงานต่าง ๆได้ถูกต้องตามกฎหมาย

    หัวข้อการอบรม 
    แนวทางการพิจารณาบริบท ภายใน-ภายนอกองค์กร
    ระบบการบริหารความปลอดภัย
    ข้อกำหนดและความมุ่งหวังของระบบการบริหารความปลอดภัย
    อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของตัวแทนฝ่ายบริหาร
    คุณลักษณะและทักษะของตัวแทนฝ่ายบริหารที่ต้องทำ
    การทำประเมินอันตราย
    การจัดทำโครงการแผนงานและการติดตามผลการดำเนินงาน
    การจัดทำเอกสารและระบบเอกสาร
    การจัดการกับอุปสรรคระหว่างการจัดทำโครงการ
    การรณรงค์ส่งเสริม ให้เกิดความตระหนัก
    การตรวจประเมินกับวัตถุประสงค์
    การจัดการกับกระบวนการตรวจประเมินภายใน
    การเตรียมการรับการตรวจประเมิน
    การจัดการกับผู้ตรวจประเมิน
    สิ่งที่ต้องทำหลังการตรวจประเมิน
    การแก้ไขปัญหาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
    การรายงานผู้บริหารระดับสูง 
    กลุ่มเป้าหมาย 
    ผู้ที่เป็นเตรียมตัวเป็น , OHSMR
    ผู้บริหารขององค์กร
    ตัวแทนฝ่ายบริหารขององค์กร (Safety Manager, OHSMR)
    คณะทางานด้านความปลอดภัย และบุคคลที่สนใจ
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม 
    1 วัน  ( เวลา 09.00 – 16.00 น.)
    วิทยากร : 

    ผู้จัดทำโครงการ ISO Consult
    ที่ปรึกษา ISO
    เนื้อหาการฝึกอบรม ;
    STANDARD MANAGER Responsible OHSMR
    วิธีการอบรม : 

    การบรรยาย
    การทำ Workshop 
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรบทบาทหน้าที่ของตัวแทนฝ่ายบริหารระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Occupation Health and Safety Management Repressentative อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตรบทบาทหน้าที่ของตัวแทนฝ่ายบริหารระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Occupation Health and Safety Management Repressentative อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

            องค์กรได้กำหนด  บทบาท  ความรับผิดชอบ  และอำนาจหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ประกาศแต่งตั้งต่าง ๆ ได้รับการสื่อสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารระดับสูง  ได้ดำเนินการแต่งตั้ง  ผู้แทนฝ่ายบริหาร  เพื่อให้มั่นใจว่า  ระบบการจัดการต่าง ๆ ได้ถูกจัดตั้ง  นำไปปฏิบัติ  ได้รับการรักษาไว้  และผู้บริหารจะได้รับการรายงานเพื่อการตัดสินใจทบทวน  และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงบุคลากร  เทคโนโลยี  และงบประมาณอย่างเพียงพอที่จะให้การดำเนินงาน  การนำไปปฏิบัติได้ย่างมีประสิทธิผล ตัวแทนฝ่ายบริหารการจัดการความปลอดภัยมีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดทำและควบคุมระบบให้มีประสิทธิผล ดังนั้นบุคคลากรที่ทำหน้าที่ตัวแทนฝ่ายบริหารจำเป็นต้องทราบหน้าที่ความรับผิดชอบ ข้อกำหนดเชิงลึก วิธีการจัดทำและบริหารโครงการ รวมถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร ทักษะความรู้ที่ถูกต้องของผู้ดำรงตำแหน่งตัวแทนฝ่ายบริหารจะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาและรักษาระบบการบริหารเพื่อส่งผลให้องค์กรสามารถแข่งขันและได้รับการรับรอง หรือ คงธำรงรักษาระบบการบริหารสิ่งแวดล้อม

    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ตัวแทนฝ่ายบริหารการจัดการความปลอดภัยมีความรู้และเข้าใจในการบริหารงาน
    เพื่อให้ตัวแทนฝ่ายบริหารการจัดการความปลอดภัย เข้าใจ บทบาทและความรับผิดชอบงาน
    ทำให้องค์กรดำเนินงานต่าง ๆได้ถูกต้องตามกฎหมาย

    หัวข้อการอบรม 
    ระบบการบริหารความปลอดภัย
    ข้อกำหนดและความมุ่งหวังของระบบการบริหารความปลอดภัย
    อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของตัวแทนฝ่ายบริหาร
    คุณลักษณะและทักษะของตัวแทนฝ่ายบริหารที่ต้องทำ
    การทำประเมินอันตราย
    การจัดทำโครงการแผนงานและการติดตามผลการดำเนินงาน
    การจัดทำเอกสารและระบบเอกสาร
    การจัดการกับอุปสรรคระหว่างการจัดทำโครงการ
    การรณรงค์ส่งเสริม ให้เกิดความตระหนัก
    การตรวจประเมินกับวัตถุประสงค์
    การจัดการกับกระบวนการตรวจประเมินภายใน          
    การเตรียมการรับการตรวจประเมิน
    การจัดการกับผู้ตรวจประเมิน
    สิ่งที่ต้องทำหลังการตรวจประเมิน
    การแก้ไขปัญหาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
    การรายงานผู้บริหารระดับสูง 
    เป้าหมาย
    ผู้ที่เป็นเตรียมตัวเป็น , OHSMR
    ผู้บริหารขององค์กร
    ตัวแทนฝ่ายบริหารขององค์กร (Safety Manager, OHSMR)
    คณะทางานด้านความปลอดภัย และบุคคลที่สนใจ
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม 
    หลักสูตร  1 วัน (09.00 – 16.30 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70  จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม 
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    STANDARD MANAGER RESPONSIBLE OHSMR
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง อบรม Public 2,000 บาท /ท่าน In House อบรมด่วน

    หลักสูตรการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง อบรม Public 2,000 บาท /ท่าน In House อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                 การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่ระบุลำดับความเสี่ยงของอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงานที่ครอบคลุมสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากร และขั้นตอนการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ รวมกัน ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงหลักการ และวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย รวมทั้งอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องประเมินความเสี่ยงการประมาณระดับความเสี่ยงโดยคำนึงถึง  ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดอันตราย เพื่อนำมาพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ และการวางแผนควบคุมความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้


    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ที่มีอยู่ทั้งหมดในบริษัท และจะได้ร่วมกันหามาตรการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสีย
    เพื่อฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยและเป็นการกำหนดมาตรฐานการทำงาน

    หัวข้อการอบรม
    การประเมินความเสี่ยง,การค้นหาอันตรายและชี้บ่งอันตราย คืออะไร 
    หลักการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
    เทคนิคการชี้บ่งอันตรายทั้ง 7 วิธี  Check list, What if, FMEA, HAZOP, FTA, ETA, มอก.18004
    การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
    การฝึกปฏิบัติเทคนิคการประเมินความเสี่ยง
    การฝึกปฏิบัติกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและแผนการดำเนินงานเพื่อลดและควบคุมความเสี่ยง
    กลุ่มเป้าหมาย
    เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทุกระดับ
    หัวหน้างานในหน่วยงานต่างๆ
    ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น OH&SMR คณะทำงานการจัดทำระบบด้านความปลอดภัย 
    ผู้ที่สนใจทำระบบด้านอาชีวอนามัย 
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  1  วัน (09.00 – 16.00 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60  จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง 
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร Measurement Systems Analysis (MSA) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร Measurement Systems Analysis (MSA) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

             การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม ระบบการวัดปัจจุบันมีความสำคัญต่อการยืนยัน ผลการตรวจสอบคุณภาพ ถึงแม้ว่าระบบการผลิต จะมีความถูกต้องแต่ถ้าระบบ การวัดมีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วก็ อาจส่งผลต่อการตัดสินใจ ที่คลาดเคลื่อนได้ ถ้าหากระบบการวัดขาดความถูกต้อง (Accuracy) และขาดความแม่นยำ (Precision) ในการใช้งาน ผลกระทบที่ตามมาอาจจะส่งผล ต่อการตัดสินใจด้านการวัด และวิเคราะห์ค่าของการตรวจสอบ ชิ้นงานที่ผลิตขึ้น มีความผิดพลาดที่ตามมา อันจะทำให้เกิดการขาดความ เชื่อมั่นจากทางลูกค้าได้ในระยะยาว ดังนั้นระบบการวัดจึงถือ เป็นระบบพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุม และนำไปสู่การปรับปรุงเพื่อ ลดค่าความผันแปรในระบบดังกล่าว ให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ IATF 16949: 2016 และข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า

    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้มีความเข้าใจและหาแนวทางสร้างระบบการประเมินการวัดที่มีมาตรฐานเป็นไปตามข้อกำหนด
    เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคสถิติในการนำมาวิเคราะห์ระบบการวัดให้เหมาะสม
    เพื่อให้ทราบแนวทางการนำระบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ

    หัวข้อการอบรม
    ความหมาย และหลักการวิเคราะห์ระบบการวัด
    การประยุกต์ใช้ระบบการวิเคราะห์ระบบการวัดกับเครื่องมือวัด หรือผลิตภัณฑ์
    หลักการ และเทคนิคการวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA)
    การวิเคราะห์ระบบการวัดเสถียรภาพ (Stability)
    การวิเคราะห์ความเอนเอียงของระบบการวัด (Bias)
    การวิเคราะห์ความเป็นเส้นตรงของเครื่องมือวัด (Linearity)
    การผลิตซ้ำและการทำซ้ำ (Gauge R&R Attribute, Repeatability)
    วิธีการวิเคราะห์โดยอาศัยเฉลี่ยและค่าพิสัย (X bar-Rang Method)
    วิธีการวิเคราะห์ Gage R&R สำหรับข้อมูลนับ (Attribute Gage R&R)
    ความล้มเหลวในการทำ MSA
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมด และผู้ที่ทำระบบ IATF 16949
    ผู้บริหาร ตัวแทนฝ่ายบริหารและคณะทำงานที่ต้องการนำมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพด้านยานยนต์ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
          หลักสูตร  1  วัน (08.30 – 16.30 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรมเต็มเวลา 
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    Measurement Systems Analysis (MSA)
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร Statistical Process Control (SPC) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร Statistical Process Control (SPC) อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                     เนื่องจากสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผลิตสินค้าที่มี
          คุณภาพสูง แต่ขณะเดียวกันจะต้องลดราคาขายลง เพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่น ดังนั้น การอยู่รอดของผู้
          ประกอบการ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับปรุงองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างความได้
          เปรียบทางการแข่งขัน
                    การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญ
           อย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและ
           ใช้กับอย่างแพร่หลายเพื่อช่วยควบคุมกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังนั้น
           หลักสูตร “Statistical Process Control (SPC)” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้สามารถนำเทคนิคทางสถิติ
           ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมการผลิตและพัฒนาคุณภาพในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสอดคล้อง
           กับข้อกำหนดของ IATF 16949: 2016 และข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า 
            
             วัตถุประสงค์

    เพื่อให้มีความรู้และทราบถึงความจำเป็นในการนำไปประยุกต์ใช้ของการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ
    เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการพื้นฐานของสถิติ หลักการด้านการตรวจสอบคุณภาพ SPC และหลักการในการจัดทำแผนควบคุม
    เพื่อให้เข้าใจและศึกษาความสามารถของกระบวนการรวมถึง ค่า Cpk และ Ppk

    หัวข้อการอบรม
    แนวคิด (Conceptual)
    ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแนวทางสถิติ (Statistics Basic)
    การสร้างแผนภูมิ (Control Chart)
    ความสามารถของกระบวนการ(Process Capability)
    การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement)
    ข้อผิดพลาดในการใช้ SPC (SPC Practical Failure)
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมด และผู้ที่ทำระบบ IATF 16949
    ผู้บริหาร ตัวแทนฝ่ายบริหารและคณะทำงานที่ต้องการนำมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพด้านยานยนต์ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
          หลักสูตร  1  วัน (08.30 – 16.30 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรมเต็มเวลา
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    Statistical Process Control (SPC)
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร APQP, PPAP and Control Plan อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร APQP, PPAP and Control Plan อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

                  การบริหารการผลิตเพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทางองค์กรต้องให้ความ
          สำคัญในด้านคุณภาพ, ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการส่งมอบตรงเวลา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการ
          วางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า และจัดทำแผนควบคุม ซึ่งเป็นคู่มือที่ผู้ผลิตยานยนต์ได้กำหนดเป็นหลัก
          การในการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ แต่ละช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งภายหลังการผลิตต่อ
          เนื่อง (Mass Production) ดังนั้นหลักการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า และแผนควบคุม จึงเป็น
          กลยุทธ์ที่องค์กรของท่านสามารถนำมาใช้ในการบริหารระบบการผลิต และควบคุมคุณภาพให้เป็นไปอย่าง
          มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                กระบวนการอนุมัติชิ้นส่วนการผลิต (PPAP) คือข้อกำหนดทั่วไปที่กำหนดขึ้นสำหรับการอนุมัติรับรอง
          ชิ้นส่วนเพื่อการผลิต เพื่อใช้กับ Suppliers ผู้ส่งมอบชิ้นส่วนใหม่ หรือที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ลูกค้า
          อนุมัติก่อนที่จะทำการผลิตจริง (Mass Production) กระบวนการอนุมัติชิ้นส่วนผลิต (PPAP) มีเพื่อให้ได้
          ข้อสรุปว่าบันทึกการออกแบบทางวิศวกรรมของลูกค้าและข้อกำหนดเฉพาะต่างๆ เพื่อให้ได้สินค้าให้ได้ตรง
          ข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอตามอัตราการผลิตที่ได้กำหนดไว้

           วัตถุประสงค์
    เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและขั้นตอนของการทำ APQP
    เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในการนำ APQP และ Control Plan ไปประยุกต์ใช้กับงานอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผล
    เพื่อให้ทราบถึงข้อกำหนดทั่วไปที่กำหนดขึ้นสำหรับการอนุมัติรับรองชิ้นส่วนเพื่อการผลิต เพื่อใช้กับผู้ส่งมอบชิ้นส่วนใหม่หรือที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ลูกค้าอนุมัติก่อนที่จะทำการผลิต Mass Production
    เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการในการจัดทำเอกสารหลักฐานตามที่ลูกค้าร้องขอเพื่อนำไปสู่การอนุมัติหรือการรับรองชิ้นส่วนที่มีการเปลี่ยนการออกแบบใหม่ ชิ้นส่วนที่เพิ่งเริ่มผลิตเป็นครั้งแรก ชิ้นส่วนที่มีการย้ายฐานการผลิต หรือชิ้นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพของชิ้นส่วนนั้นๆ ตลอดจนส่งผลต่อคุณภาพของผู้ที่นำไปประกอบต่อ

    หัวข้อการอบรม
    แนวคิดของการทำ APQP
    โครงสร้าง และขั้นตอนในการทำ APQP
    Control Plan Diagram
    การนำ APQP ไปประยุกต์ใช้กับงาน
    วัตถุประสงค์ของ PPAP
    เมื่อไรต้องใช้ PPAP
    PPAP Process Flow Chart
    ข้อกำหนดของ PPAP
    การแจ้งต่อลูกค้าเพื่อร้องขอการอนุมัติ PPAP
    ระดับหลักฐานที่ต้องส่งมอบ PPAP
    สถานะการอนุมัติผลิตภัณฑ์และการเก็บรักษาบันทึก PPAP
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมด และผู้ที่ทำระบบ IATF 16949
    ผู้บริหาร ตัวแทนฝ่ายบริหารและคณะทำงานที่ต้องการนำมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพด้านยานยนต์ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
          หลักสูตร  1  วัน (08.30 – 16.30 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรมเต็มเวลา 
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    APQP, PPAP and Control Plan
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร New FMEA AIAG VDA 1ST Edition อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

    หลักสูตร New FMEA AIAG VDA 1ST Edition อบรมออนไลน์ อบรมด่วน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    ISO 9001 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ – เป็นมาตรฐานสากลที่มีการนำไปใช้ และให้การรับรองกันแพร่หลายทั่วโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้หลักการสำคัญ 7 ประการ คือ การมุ่งเน้นที่ลูกค้า ความเป็นผู้นำ ความมีส่วนร่วม การเข้าถึงกระบวนการ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การตัดสินใจบนหลักฐาน และการจัดการความสัมพันธ์นอกเหนือจากนี้ หลักการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ก็เป็นหลักการหนึ่งที่ใช้ในการจัดสร้างมาตรฐาน ISO 9001 ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้   องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO ได้ประกาศแก้ไขอนุกรมมาตรฐาน ISO9001 เป็น ISO 9001 : 2015 ดังนั้นแต่ละองค์กรจึงมีความจำเป็นในการจัดการฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้บุคลากรทุกฝ่าย มีความรู้ความเข้าใจในข้อกำหนดฉบับใหม่ เพื่อเตรียมพร้อม และดำเนินการปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพขององค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐานต่อไป

     วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ PFMEA ตามคำแนะนำของ AIAG
    เพื่อใช้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบของการออกแบบผลิตภัณฑ์และแนวทางการป้องกันปัญหาความล้มเหลวในการออกแบบ

    หัวข้อการอบรม
    หลักการและแนวคิดพื้นฐานของ FMEA AIAG-VDA 1st Edition ฉบับใหม่
    ความแตกต่างของ FMEA 4th Edition ปัจจุบัน และ FMEA AIAG-VDA ฉบับใหม่
    แนวทางการวิเคราะห์และจัดทำ FMEA ฉบับใหม่ และการประยุกต์ 7 ขั้นตอน (Seven Steps Approach)
    ตารางการประเมินคะแนนสำหรับผลกระทบ (Severity) โอกาสเกิด (Occurrence) และความสามารถในการตรวจจับ (Detection)
    การจัดลำดับความความเสี่ยงด้วยตารางการจัดลำดับการดำเนินการ (Action Priority) ตาม FMEA AIAG-VDA 1st Edition ใหม่
    ตารางการประเมินคะแนนสำหรับผลกระทบ (Severity) โอกาสเกิด (Occurrence) และความสามารถในการตรวจจับ (Detection) การจัดลำดับความความเสี่ยงด้วยตารางการจัดลำดับการดำเนินการ (Action Priority) ตาม FMEA AIAG-VDA 1st Edition ใหม่ 
    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมด และผู้ที่ทำระบบ IATF 16949
    ผู้บริหาร ตัวแทนฝ่ายบริหารและคณะทำงานที่ต้องการนำมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพด้านยานยนต์ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
          หลักสูตร  1  วัน (08.30 – 16.30 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรมเต็มเวลา
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    New FMEA AIAG VDA 1ST Edition
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี