Author: admin

  • บริการการออกแบบ ติดตั้ง งานระบบน้ำดับเพลิงรับเหมางานระบบดับเพลิง Fire Pump และงานติดตั้งระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิง SPRINKLER SYSTEM

    บริการการออกแบบ ติดตั้ง งานระบบน้ำดับเพลิงรับเหมางานระบบดับเพลิง Fire Pump และงานติดตั้งระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิง SPRINKLER SYSTEM

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    Fire  Protection System

        บริการตรวจสอบบำรุงรักษา และออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน
    และระงับอัคคีภัย เราให้บริการจำหน่ายปลีก-ส่ง ถังดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงทุกชนิดตู้ดับเพลิง สายดับเพลิง  หัวฉีดดับเพลิง ปั๊มน้ำดับเพลิง ไฟอราม ชุดดับเพลิง ไฟฉุกเฉิน ที่ได้รับมาตรฐานจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และบริการการออกแบบ ติดตั้ง งานระบบดับเพลิง พัดลมระบายอากาศในโรงงาน  ระบบไฟฟ้า ระบบสัญญาญเตือนภัยต่างๆ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาฟรี !!!

             เราผ่านการรับรองระบบ การบริหารงานคุณภาพ ISO 9001;2015 ตามมาตรฐานสากลจาก TÜV Rheinland Thailand เป็นมาตรฐานที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ ทำให้ลูกค้ามั่นใจในบริการของเรา

    Fire  pump system งานระบบดับเพลิง 
    ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล,เครื่องยนต์เบนซิน,และเครื่องดับเพลิงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
    ติดตั้งเครื่องสูบนำ้เพิ่มแรงดัน
    ติดตั้งประกอบตัวเครื่องสูบและระบบท่อและอุปกรณ์ภายในระบบเช่น ท่อส่งน้ำหลัก , ท่อย่อย , วาล์วน้ำ,เช็ควาล์ว ,ฟุตวาล์ว,เซฟตี้วาล์ว ,รวมทั้งอุปกรณ์ท่ออ่อน , ข้องอ , ข้อต่อ ต่างๆ อุปกรณ์รวมไปถึงเครื่องมือวัดแรงดัน
    ติดตั้งระบบสัญญานเตือนอัคคีภัยระบบแบ่งโซลการทำงาน ( Fire Alarm Control Panel )
    Fire Fighting system งานติดตั้งตู้ดับเพลิง
    บริการติดตั้งตู้ดับเพลิง ตามแบบและขนาดที่ต้องการ
    ตู้เก็บเครื่องดับเพลิง แบบเดี่ยว (Fire Extinguisher Cabinet)
    ติดตั้งตู้เก็บเครื่องดับเพลิง แบบคู่ (Fire Extinguisher Cabinet)
    ติดตั้งตู้เก็บสายดับเพลิง (Fire Hose Cabinet)
    ตู้เก็บสายดับเพลิงและอุปกรณ์ (Fire Hose Rack)
    ตู้เก็บขวานดับเพลิง (Fire Axe Cabinet)
    ตู้เก็บชุดดับเพลิง (Fire Cloth Cabinet)
     Fire Extinguisher  จำหน่ายถังดับเพลิง 
     บริการเติมน้ำยาผงเคมี
     
     
    เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ( Dry chemical )
    เครื่องดับเพลิงเคมี A.B.C. มีประสิทธิภาพสูง ในการดับเพลิง
    สามารถดับเพลิง Class A B C ไม้,ผ้า,กระดาษ,พลาสติก,ไฟฟ้าช๊อต, น้ำมัน,แก๊ส และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
    ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ISO 9001 : 2008
    เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานความสามารถการดับเพลิงสูง FIRE RATING ตั้งแต่ 2A-2B ถึง 10 A 60B
    ได้ตามมาตรฐานกฎกระทรวง และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
     
    เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( Co-2 )
    มีประสิทธิภาพดับไฟที่เกิดจากน้ำมัน แก๊ส และไฟฟ้าช๊อต
    เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO-2
    ชนิดตัวถังอลูมินั่มอัลลอยด์
    ฉีดแล้วจะระเหยหายไปได้เอง โดย ไม่ทิ้งคราบสกปรก และไม่ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ 
    เหมาะสำหรับใช้ในห้องคอลโทรลไฟฟ้า ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเก็บวัสดุไวไฟ เครื่องจักร
    เก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
    เครื่องดับเพลิงชนิดโฟม
    สำหรับดับเพลิงขั้นต้นกับบริเวณพื้นที่ที่มีการเก็บสต็อคสารไวไฟ จำพวกของเหลว เช่น น้ำมัน , ทินเนอร์, 
    มีประสิทธิภาพในการดับเพลิง จำพวก ไม้ , ผ้า ,กระดาษ ,พลาสติก , ยาง , น้ำมันเชื้อเพลิง และสารเคมีทุกชนิด
    มีส่วนของน้ำช่วยลดอุณภูมิ
    มีคุณสมบัติพิเศษ โดยมีแผ่นฟิล์มน้ำปิดไอเชื้อเพลิง ปกคลุมมิให้ไฟย้อนติดขึ้นมาอีก

     เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน
    ชนิดตัวถังแสตนเลส
    มีคุณสมบัติพิเศษในการดับเพลิงจำพวกของแข็งติดไฟได้ดี Fire Class A
    เหมาะสำหรับติดตั้ง ในห้องเก็บสินค้า หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่อาจจะเกิดเพลิงไหม้ความทนทานป้องกันการกัดกร่อน และการเป็นสนิม

  • บริการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน Monitoring work place

    บริการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน Monitoring work place

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในสถานประกอบกิจการตรวจวัดแสง เสียง ความร้อน  สารเคมี  Monitoring work place
    ความร้อนสภาพความร้อน
    ทำการโดยวัดค่า  WBGT  ต่อจุด
    ความเข้มของแสงสว่าง 
    ตรวจวัด ณ   จุดที่ทำงาน 
    เฉลี่ยบริเวณและพื้นที่                
    แสงสว่างที่หน้างานและบริเวณโดยรอบ
    ระดับเสียง
    ระดับเสียงดังเฉลี่ยตลอดการทำงาน  8  ชั่วโมง
    ระดับเสียงแบบพื้นที่ (แยกความถี่) ต่อจุด
    ระดับเสียงดังสะสมที่ตัวบุคคล 
    สารเคมี
    ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมี
    ปริมาณความเข้มข้นฝุ่น
    ปริมาณสารเคมีเฉลี่ยตลอดการทำงานต่อพารามิเตอร์

    บริการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้น (Walk Through Survey)
    สำรวจสภาพพื้นที่การปฎิบัติงาน, สภาพการทำงานและกำหนดจุดที่จะดำเนินการตรวจวัดและเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจวัดและประเมินผล
    บริการตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไป (Ambient Air Monitoring) 
    ระดับเสียงรบกวน  ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 Hour) 
    ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 100 ไมครอน
    ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีต่างๆ 
    ปริมาณความเข้มข้นของมลสารพิษ ก๊าซพิษ 
    บริการตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศในปล่องระบายอากาศ (Stack Monitoring)
    ปริมาณความเข้มข้นของสารโลหะหนักที่ออกจากปล่องระบาย
    ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตามมาตรฐาน
    ปริมาณความเข้มข้นของสาร Vapor
    บริการตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality)
    อุณหภูมิ
    ความชื้นสัมพัทธ์
    ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศอนุภาคขนาดเล็ก

    บริการตรวจวัดคุณภาพน้ำ (Water and Waste Water)
    คุณภาพน้ำบริโภค 
    คุณภาพน้ำเสีย-น้ำทิ้ง

  • หลักสูตร : การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    หลักสูตร : การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นที่มาของการประเมินความเสี่ยงประเภท เพื่อสร้างความเข้าใจให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมด เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ให้กับหัวหน้างาน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดการปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างปลอดภัย โดยใช้เทคนิคและหลักการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย อันจะเป็นแนวทางและวิธีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานต่อไป

    วัตถุประสงค์
    เรียนรู้อันตรายในสถานที่ทำงาน เพื่อหาวิธีป้องกันจากอันตรายนั้นๆ
    ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความสามารถจัดการกับความเสี่ยงและสามรถวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    หัวข้อการอบรม
    แนวคิดการจัดการความเสี่ยง
    คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    การใช้ วิธีการชี้บ่งอันตรายและตัวอย่างการชี้บ่งอันตราย
     การประเมินความเสี่ยง
    เทคนิคการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
    การจัดทำแผนงานบริหารการจัดการความเสี่ยง แผนงานลดความเสี่ยง แผนงานควบคุมความเสี่ยง
    การทบทวนการจัดการความเสี่ยง
     การนำแผนงานบริหารการจัดการความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้ในองค์กร
    กลุ่มเป้าหมาย
     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
     กลุ่มลูกจ้าง หัวหน้างาน 
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร 6 ชม. 
    การวัดผล
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงาน ผู้ผ่านการฝึกอบรม
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร Flag man (ผู้ถือธงสัญญาณ)

    หลักสูตร Flag man (ผู้ถือธงสัญญาณ)

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     Flag man หรือ ผู้ถือธงสัญญาณ นับมีความสำคัญและจำเป็นในกิจกรรมการดำเนินการในด้านต่าง ๆเช่น กิจกรรมนำรถขนส่ง ให้สัญญาณรถ รถที่มีประกายไฟ และเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยในกิจกรรมดังกล่าว การเข้าพื้นที่เขตหวงห้าม และกิจกรรมต่าง ๆในกลุ่มงาน  Petroleum  และ Oil and Gas ซึ่ง Flag man ก็ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในด้านความรับผิดชอบ เช่น กำหนดเส้นทางเดินรถ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้พนักงานผู้รับจ้าง ผู้รับเหมา รวมถึงตัวแทน ผู้รับเหมาช่วง หรือผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานในโรงงาน จะต้องมีความเข้าใจและยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยและการมีสุขภาพพลานามัยที่ดีขณะปฏิบัติงานและภายหลังปฏิบัติงานกับโรงงาน

    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ทราบถึงลักษณะชนิด มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย
     เพื่อให้ทราบถึง การใช้สัญญาณมือ ให้ถูกต้อง
    เพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564

    หัวข้อการอบรม

    กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2564
    กฎข้อบังคับทั่วไปสำหรับผู้รับเหมา
    กฎข้อบังคับเรื่องอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE
    กฎข้อบังคับการเตือนอันตราย (Hazard Warning)
    กฎข้อบังคับระบบใบอนุญาตให้ทำงาน (Permit to Work)
    กฎข้อบังคับการอพยพเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
    การเลือกใช้สีธง การโบกธง การหยุดโบก 
    มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย
    การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร (ภาคปฏิบัติ) 
    กลุ่มเป้าหมาย 

    ผู้ถือธงสัญญาณ ผู้ให้สัญญาณณ  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย 
    ระยะเวลาในการอบรม  

    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    การวัดผล   

    ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรมเต็มเวลา 
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    ผู้ให้สัญญาณ ระเบียนข้อบังคับพื้นที่อันตราย
    กฎข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ตามกฎกระทรวง ฯ ปี 2565

    โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ตามกฎกระทรวง ฯ ปี 2565

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    กฎกระทรวง
    การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล
    เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565


                            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ในส่วนที่ 2 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ กำหนดให้ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพมีหน้าที่ ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ดังนั้น เพื่อให้พนักงานทราบถึงการเกิดโรคในสถานประกอบกิจการและปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดจึง ต้องอบรมหลักสูตร ตามกฎหมาย

    วัตถุประสงค์
    เพื่อปฎิบัติตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุ
    คลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ
    เพื่อให้ลูกจ้างเข้าใจโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
    เพื่อหาแนวหาป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ
    เรียนรู้อันตรายในสถานที่ทำงาน เพื่อหาวิธีป้องกันจากอันตรายนั้น

    หัวข้อการอบรม
    พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อหรืออาการสำคัญของโรค. จากการประกอบอาชีพ พ.ศ. 2563
    ปัญหาสุขภาพและสาเหตุการเจ็บป่วย
    โรคจากการทำงานที่เกิดจากการสัมผัสที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
    การวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพ
    การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและโรคโรคจากสิ่งแวดล้อม
    การป้องกันและการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
    การสื่อสารความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความเสี่ยง
    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563
    กลุ่มเป้าหมาย
    เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
    กลุ่มลูกจ้าง 
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร 1 วัน 
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    บรรยาย-ถามตอบ
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • อบรม หลักสูตร การใช้หินเจียร์อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

    อบรม หลักสูตร การใช้หินเจียร์อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การทำงานหรือปฏิบัติงานกับความร้อนประกายไฟถือเป็นงานที่มีอันตรายสูง  รวมถึงการปฏิบัติงานที่อาจผิดพลาด ผิดขั้นตอน และยังอาจมีผู้ร่วมปฏิบัติงานด้วยจำนวนมาก ซึ่งการผิดพลาดของคนหนึ่งอาจทำให้อีกคนหนึ่งได้รับอันตรายที่รุนแรงได้ และยังไม่มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานให้ใช้งาน งานเสี่ยงอันตราย (Hazardous Work) หมายถึง งานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือเพื่อนร่วมงานสูงหรืองานที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ได้แก่งานที่มีลักษณะดังนี้
    1. การทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน (Hot Work) หมายถึง งานที่ทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟขณะปฏิบัติงาน เช่น งานตัดและเชื่อมโลหะด้วยเครื่องเชื่อมไฟฟ้า หรือเชื่อมแก๊ส และงานที่ต้องใช้เครื่องเจียรนัย เป็นต้น
    2.การทำงานบริเวณที่อับอากาศ หมายถึง การทำงานบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำ มีการสะสมของสารไวไฟ
    3. ลักษณะงานอื่นๆ ทั่วไปที่เห็นว่ามีอันตราย (General)การทำงานที่สูงเกิน 3 เมตร,งานเกี่ยวกับระบบท่อมีความดันสุง ท่อไอน้ำ ท่อสารเคมี หรือสารไวไฟ, งานฉายรังสี
    (X-ray) งานก่อสร้าง,การซ่อม บำรุงเครื่องจักร บริเวณที่มีอันตรายหรือเครื่องจักรอื่นยังไม่หยุด การทำงานบริเวณที่มีเสียงดัง ความดันสูง เกิดการสั่นสะเทือนมาก หรือมีสารเคมีอันตราย ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีความเข้าใจ และ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับทุกคน
    วัตถุประสงค์:

    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงอันตรายของงานที่มีความร้อนประกายไฟ และสามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนั้นได้
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบวิธีการทำงานเกี่ยวกับงานเจียร
    เพื่อเป็นการทำให้สถานที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน HOT WORK 
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินความเสี่ยงของงานที่มีความร้อนประกายไฟ งาน เจียร์ งานตัด 

    หัวข้อการอบรม
    กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2564
    ประเภทของหินเจียร์
    ส่วนประกอบหินเจียร์
    กรณีศึกษาอุบัติเหตุจากการใช้หินเจียร์
    อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
    การใช้งานและคู่มือการดูแลรักษาเครื่องเจียรอย่างถูกวิธี (ภาคปฎิบัติ)
    ฝึกปฎิบัติ สวมใส่ ใบหินเจียร์ 
    ฝึกปฎิบัติการใช้งานหินเจียร์ ที่ถูกต้อง
    ฝึกปฎิบัติ การปิดล้อมพื้นที่ปฎิบัติงาน 
    กลุ่มเป้าหมาย

    ผู้ใช้งานหินเจียร์ ช่างประกอบ ช่างเชื่อม
    ระยะเวลาในการอบรม
    หลักสูตร 1 วัน   ทฤษฎี   3 ชม. ปฏิบัติ   3 ชม. รวม 6 ชั่วโมง
    การวัดผล
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    Pretest – Post test
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงาน ผู้ผ่านการฝึกอบรม
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ตามกฎกระทรวงฯ ปี 64

    หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ตามกฎกระทรวงฯ ปี 64

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 กำหนดว่า ในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ หรือ เครื่องจักรชนิดอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากกาใช้งานได้โดยสภาพ นายจ้างต้องใช้ลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงาน กับเครื่องจักร การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างอุปกรณ์ การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของเครื่องจักรนั้น โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรแต่ละประเภท  หลักสูตร “ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร” นี้ได้รวบรวมความรู้ที่จำเป็น สำหรับผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรแต่ละประเภท ให้สามารถนำามรู้ไปใช้ปฏิบัติ ตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์

    วัตถุประสงค์ 
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมหรือผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร เข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมหรือผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ได้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย หลักการทำงานกับเครื่องจักรในสถานประกอบกิจการ /โรงงานอย่างถูกต้อง
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมหรือผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ทราบถึงวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ทราบถึงข้อกฎหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง มีความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรประเภทต่างๆ

    หัวข้อการอบรม
    สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเภทของเครื่องจักรชนิดต่างๆ
    รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างอุปกรณ์
    เครื่องปั๊มโลหะ
    เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ
    รถยก
    ลิฟต์โดยสาร ลิฟต์ขนส่งวัสดุ
    เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง* เครื่องจักรชนิดอื่น
    รอก
    ขั้นตอนและวิธีการทำงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย
    ประเภทและลักษณะของอันตรายและอุบัติเหตุจากการทำงานกับเครื่องจักร
    การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างถูกต้องและปลอดภัย
    เทคนิคการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
    เทคนิคและขั้นตอนการทำงานซ่อมบำรุงด้วยวิธีล็อกและติดป้าย (Lockout Tagout)
    การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
    กรณีศึกษาอุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักร
    กลุ่มเป้าหมาย
    พนักงานผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรหรือเครื่องมือ
    หัวหน้างานผู้ควบคุมดูแลงานที่ต้องใช้เครื่องจักรในการทำงาน
     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ
    ช่างซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักร ช่างเทคนิค วิศวกร ผู้ดูแลเครื่องจักร

    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร 1 วัน 
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
    ความปลอดภัยเครื่องจักร
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร การรายงาน การสอบสวนอุติเหตุ และมาตรการป้องกัน

    หลักสูตร การรายงาน การสอบสวนอุติเหตุ และมาตรการป้องกัน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ ( Incident ) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดอุบัติเหตุ (Accident)  อุบัติเหตุ ( Accident ) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการที่ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า หรือไม่ทราบล่วงหน้า หรือขาดการควบคุม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยจากการทำงาน หรือการเสียชีวิต หรือความสูญเสียต่อทรัพย์สิน หรือความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือต่อสาธารณชน การรายงาน หรือการสอบสวนอุติเหตุมีความสำคัญมาก ผู้รายงานจำเป็นต้องมีทักษะ และมีความเข้าใจในเหตุการณ์ จึงจะสามารถ การสอบสวนอุติเหตุและหามาตรการป้องกันได้ 

    วัตถุประสงค์ 
     เพื่อให้มีการรายงาน และการสอบสวนอุบัติการณ์อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และสามารถกำหนดมาตรการในการแก้ไข และป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีเจตนาจะค้นหาความผิดจากบุคคล หากแต่จะช่วยลดหรือขจัดโอกาสที่อุบัติการณ์นั้นจะเกิดขึ้นอีก

    หัวข้อการอบรม
    บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับต่างๆ ในด้านความปลอดภัย (ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549)
     แนวคิดการบริหารจัดการงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน
    การบริหารจัดการความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ
    กรณีศึกษา และการวิเคราะห์อุบัติเหตุ
    การรายงาน และการสอบสวนอุบัติเหตุ
    มาตรการ และแนวทางการป้องกัน(ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    ถาม-ตอบ
    กลุ่มเป้าหมาย
    เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ,
    ผู้จัดการโรงงาน ,
    หัวหน้าแผนก 
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร 1 วัน 
    การวัดผล
     ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลา 100 % ของระยะเวลาการอบรม  
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    การรายงาน การสอบสวนอุติเหตุและมาตรการป้องกัน
    บรรยาย ถาม-ตอบ 
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้ก๊าซในงานอุตสาหกรรม อบรมด่วน อบรมออนไลน์

    หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้ก๊าซในงานอุตสาหกรรม อบรมด่วน อบรมออนไลน์

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการคาดคิดไว้ล่วงหน้า หรือไม่ทราบล่วงหน้า หรือขาดการควบคุม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย บางครั้งก็ร้ายแรงจนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน กระบวนการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน
           การสอบสวนอุบัติเหตุ (Accident Investigation) หมายถึง กระบวนการในการค้นหาความจริง หรือสาเหตุที่แท้จริง (The Root Cause) ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แล้วนำข้อเท็จจริงที่ได้มาประเมิน เพื่อเสนอแนะแนวทาง หรือมาตรการควบคุม หรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำเดิมขึ้นมาอีก  เทคนิควิธีการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุแล้วนำมาจัดทำมาตรการป้องกัน หรือแผนการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานนั้น  ดังนั้น หลักสูตรการสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ในสถานประกอบกิจการ
    มีความจำเป็นสำหรับพนักงานที่ทำการสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อสามารถสอบสวน รายงาน และวิเคราะห์อุบัติเหตุในการทำงานได้

    วัตถุประสงค์
    ผู้เข้ารับการอบรมทราบขั้นตอน วิธีการ และเทคนิคการสอบสวนอุบัติเหตุ
    ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความสามารถในการสอบสวนอุบัติเหตุ
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้อง

    หัวข้อการอบรม
    นิยามศัพท์ และคำจำกัดความเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
    ความแตกต่างและความหมายของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานอุบัติเหตุ / อุบัติการณ์
    บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
    สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน
    การสอบสวนอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์
    การวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
    กรณีศึกษา และการวิเคราะห์อุบัติเหตุ
    การเขียนรายงาน การบันทึก และการสอบสวนอุบัติเหตุ
    มาตรการในการป้องกัน ควบคุม และแนวทางการป้องกัน (ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง)
    กลุ่มเป้าหมาย
    เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
    หัวหน้างาน หัวหน้าแผนก
    คณะกรรมการความปลอดภัย 
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
          หลักสูตร  1  วัน (08.30 – 16.30 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรมเต็มเวลา
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้ก๊าซในงานอุตสาหกรรม อบรมด่วน อบรมออนไลน์

    หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้ก๊าซในงานอุตสาหกรรม อบรมด่วน อบรมออนไลน์

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     ในงานอุตสาหกรรมหลายประเภทต้องใช้ “ก๊าซ” ต่างๆ ในกระบวนการผลิตหรือส่วนประกอบ และ
            เนื่องจาก “ก๊าซ” มีมากมายหลายชนิด และบางชนิดหากไม่มีการป้องกันในการใช้หรือจัดเก็บอย่างดีพอก็
            จะเป็นปัจจัยให้เกิดอุบัติเหตุหรือความสูญเสียที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอัคคีภัยหรืออันตรายต่อ
            สุขภาพกรณีเกิดการรั่วไหลเข้ามาในสถานที่ทำงานหรือชุมชน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องศึกษาและปฏิบัติ
            ตามขั้นตอนของการทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
                บริษัท อินดักชั่น เซฟตี้ แอนด์ เทรนนิ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดอบรมหลักสูตร
            ความปลอดภัยในการใช้ก๊าซในงานอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความปลอดภัย
             
             วัตถุประสงค์

    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ หรือเก็บก๊าซ
    เพื่อให้ความรู้ในการปฏิบัติงานกับก๊าซแต่ละประเภท ได้
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หรือเก็บก๊าซ และป้องกันหรือระงับหรือบรรเทาอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
    เพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ที่เกิดจากขึ้นจากเหตุการณ์จริง ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ในการปฏิบัติงานจริง

    หัวข้อการอบรม
    กฎหมายโรงงาน กฎหมายเกี่ยวกับโรงงานที่มีการประกอบกิจการโรงงานผลิตบรรจุ ใช้ และขนส่งก๊าซ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับก๊าซ
    อันตราย และ ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้เก๊าซอุตสาหกรรม
    ถังเก็บก๊าซ ภาชนะบรรจุ ท่อก๊าซ เครื่องจักร เครื่องวัด อุปกรณ์ และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ต่าง ๆ
    วิธีปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บท่อก๊าซ
    กรณีศึกษาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง การใช้ก๊าซอุตสาหกรรม
    การป้องกันและระงับอุบัติเหตุเมื่อก๊าซรั่ว เกิดเพลิงลุกไหม้ และดับเพลิง
    กลุ่มเป้าหมาย
    โรงงานที่มีการใช้หรือเก็บก๊าซ
    พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับก๊าซอุตสาหกรรม
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
          หลักสูตร  1  วัน (08.30 – 16.30 น.)
    การวัดผล
    ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรมเต็มเวลา 
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    ความปลอดภัยในการใช้ก๊าซในงานอุตสาหกรรม
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี