Author: admin

  • หลักสูตรการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้าน 30 ท่าน/รุ่น อบรมนั่งร้านด่วน อบรม Public 3,500 บาท / ท่าน

    หลักสูตรการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้าน 30 ท่าน/รุ่น อบรมนั่งร้านด่วน อบรม Public 3,500 บาท / ท่าน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    กระทรวงแรงงานพบว่าสถานประกอบกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด ได้แก่  “กิจการประเภทก่อสร้าง”   ซึ่งการประสบอันตรายมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้าน จะประสบอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูงหรือนั่งร้านพัง  ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติจากการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน  การอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อพนักงานได้นำความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากนั่งร้าน
     
    วัตถุประสงค์:
    เพื่อให้ทราบกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน
    เพื่อให้ทราบถึงประเภทของนั่งร้านที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการเลือกใช้งานนั่งร้านที่เหมาะสมและปลอดภัย
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานอย่างไรให้ความปลอดภัยในทำงานบนนั่งร้าน
    เพื่อฝึกปฏิบัติในการติดตั้งนั่งร้านและตรวจสอบนั่งร้านให้ถูกวิธีและปลอดภัย

    หัวข้อการอบรม

    วันแรกของการอบรม 

    กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน                                 
    ข้อกำหนดอื่นๆตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน                   
    ประเภทของนั่งร้าน อุปกรณ์นั่งร้านและโครงสร้างนั่งร้าน                     
    สาเหตุ การเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน                                 
    กรณีศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับนั่งร้าน                   
    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับงานนั่งร้าน   
    วันที่สองของการอบรม
    มาตรฐานในการติดตั้งนั่งร้าน
    การติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้านแบบโครงสร้างสำเร็จและแบบท่อและข้อต่อ  (ภาคปฎิบัติ) 
    การตรวจสอบความปลอดภัยระหว่างปฏิบัติงานบนนั่งร้าน                    (ภาคปฎิบัติ) 
    การฝึกปฏิบัติการติดตั้งนั่งร้านแบบท่อและข้อต่อ                              (ภาคปฎิบัติ) 
    ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบนั่งร้านท่อเหล็กก่อนใช้งาน                            (ภาคปฎิบัติ) 
    ข้อควรปฏิบัติในการปฏิบัติงานบนนั่งร้านอย่างไรให้ปลอดภัย                  (ภาคปฎิบัติ) 
    กลุ่มเป้าหมาย     
    ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้าน
    ระยะเวลาในการอบรม 
    หลักสูตร 2 วัน (12 ชั่วโมง) 
    การวัดผล
    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 100% ของระยะเวลาการอบรม  
    Pretest – Posttest
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
     เนื้อหาการฝึกอบรม
    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564
    กฎกระทรวง กำหนมาตรฐานในการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานก่อสร้าง พ.ศ.2551
    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร
    มาตราฐานนั่งร้าน
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง 30 ท่าน/รุ่น อบรมการทำงานบนที่สูงด่วน ราคา 17,500 บาท อบรม Public 1,800 บาท / ท่าน อบรมด่วน working at height

    ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง 30 ท่าน/รุ่น อบรมการทำงานบนที่สูงด่วน ราคา 17,500 บาท อบรม Public 1,800 บาท / ท่าน อบรมด่วน working at height

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การฝึกอบรมหลักสูตร “ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง” จัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ 2554 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2551 โดยกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน พ.ศ. 2564
    การตกจากที่สูงถือเป็นอันดับต้นของการเสียชีวิต หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการ แนวทางการจัดการ การปฏิบัติ ข้อควรระวัง วิธีการตรวจสอบและบำรุงรักษา การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมตามลักษณะงาน รวมไปถึงกรณีศึกษาของอุบัติเหตุจากการตกที่สูง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง การป้องกันตัวเองจากอันตรายต่างๆ การเข้ารับการอบรมจะเป็นตัวช่วยส่วนหนึ่งให้มีความรู้และทักษะและ เพื่อเพิ่มระดับความรู้ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนที่สูง การใช้ และการสวมใส่อุปกรณ์อย่างถูกต้องและปลอดภัย ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น ให้พนักงาน ผู้รับเหมา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง


    วัตถุประสงค์

    เพื่อเพิ่มระดับความรู้ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนที่สูง
    เพื่อเพิ่มทักษะในการวางแผนงาน และป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และแนวทางการจัดการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
    ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติอยู่

    หัวข้อการอบรม
    ทฤษฎี   


    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานภัยในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2551
    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ.2564
    สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานที่สูง
    แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยและวิธีการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
    การชี้บ่งอันตรายในการทำงานบนที่สูง 
    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเครื่องมือเกี่ยวกับการป้องกันการตกจากที่สูง
    Vertical Lifeline and Horizontal Lifeline / สายเชือกช่วยชีวิตในแนวดิ่งและแนวระนาบ
    Climbing Technique, Ascend and Descent / เทคนิคการปีนขึ้น-ลง
    การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยบนที่สูง
    การตรวจสอบ และบำรุงรักษา อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานบนที่สูง
    Knot and Anchor / เงื่อนเชือกและจุดยึด(จุดคล้องเกี่ยว)
    ภาคปฏิบัติเสมือนจริง ในการทำงานบนที่สูง
    กลุ่มเป้าหมาย
    สถานประกอบกิจการที่มีการทำงานบนที่สูง ผู้ปฎิบัติงานบนที่สูง
    ผู้ปฎิบัติงานการทำงานบนเสาส่งสัญญานโทรศัพท์ จานดาวเทียม 
    งานทำความสะอาดกระจก
    ผู้ที่ต้องทำงานด้วยระบบเชือก
    ระยะเวลาในการอบรม  
    หลักสูตร   1  วัน  (ภาคทฤษฎี+ภาคปฎิบัติ) 
    การวัดผล
    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการอบรม
    Pretest – Posttest  
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม  
    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. ๒๕๕๑
    การฝึกภาคปฎิบัติการทำงานบนที่สูง ฝึกการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรการฝึกทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

    หลักสูตรการฝึกทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๐ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

    ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้าง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และ ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

            กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งได้ ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ นิติบุคคล ดังกล่าวต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๒๐ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒

    ข้อ ๓ ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ นายจ้างหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ต้องดำเนินการ ดังนี้ 
          (๑) ให้แจ้งกำหนดการ หลักสูตรการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร ต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการก่อนการจัดฝึกอบรม
              ทั้งนี้อาจแจ้งเป็นเอกสารด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E – Service) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
         (๒) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนดนี้
         (๓) จัดให้มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมตามหลักสูตร
         (๔) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
         (๕) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
               (ก) ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยนิติบุคคลได้รับอนุญาตตาม
          มาตรา ๑๑ ใบอนุญาต เลขที่ …”

          ข้อ 14 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างเข้าฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามข้อ 13 ทุกห้าปีนับแต่วันสุดท้ายของการฝึกอบรม           หลักสูตรตามข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 หรือข้อ 12 โดยจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันก่อนครบกำหนดห้าปี

          วัตถุประสงค์
    เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองตามที่นายจ้างมอบหมาย

    หัวข้อการอบรมภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง
    1) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    2) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    3) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    4) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย สามสิบนาที
    5) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที
    6) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
    7) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
    กลุ่มเป้าหมาย
    บุคลากรในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามที่นายจ้างมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน  
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  3 ชั่วโมง
    วิทยากร
    วิทยากรที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน
    การวัดผลอบรม
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (รวม 4 ผู้ อับอากาศ)

    หลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (รวม 4 ผู้ อับอากาศ)

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๐ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

    ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้าง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และ ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

              กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งได้ ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ นิติบุคคล ดังกล่าวต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๒๐ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒

    ข้อ ๓ ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ นายจ้างหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ต้องดำเนินการ ดังนี้
    ๑) ให้แจ้งกำหนดการ หลักสูตรการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร ต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการก่อนการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ อาจแจ้งเป็นเอกสารด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E – Service) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
    (๒) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด
    (๓) จัดให้มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมตามหลักสูตร
    (๔) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
    (๕) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
    (ก) ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยนิติบุคคลได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ใบอนุญาต เลขที่ …”

    ข้อ ๔ ผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกินสามสิบคน และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในภาคปฏิบัติ ต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน

    ข้อ ๕ ในการฝึกภาคปฏิบัติ         กรณีนายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ลูกจ้าง เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง
          กรณีนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติสถานที่ตั้งที่ได้รับอนุญาต
           ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
              (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
              (๒) มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศ
                   อาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
          วัตถุประสงค์
    เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองตามที่นายจ้างมอบหมาย

    หัวข้อฝึกอบรม
    ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมสิบห้าชั่วโมง
    ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
    จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
    ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
    ซ) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ฌ) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ญ) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว สามสิบนาที
    ฎ) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
    ฏ) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง
    ฐ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
    ฑ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) สองชั่วโมง
    ฒ) เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย หนึ่งชั่วโมง
    ณ) การควบคุมดูแลการใช้เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หนึ่งชั่วโมง
    ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าเก้าชั่วโมง
    (ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศ ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ค) เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ง) เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    (จ) การอนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการสื่อสาร ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ฉ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
    (ช) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
    (ซ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ฌ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ญ) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    กลุ่มเป้าหมาย
    บุคลากรในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามที่นายจ้างมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  4 วัน (24 ชั่วโมง) อบรม 4 วันต่อเนื่อง 
    วิทยากร
    วิทยากรที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน
    การวัดผลอบรม
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ช่วยเหลือ

    หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ช่วยเหลือ

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๐ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด 

    ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้าง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และ ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
              กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งได้ ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ นิติบุคคล ดังกล่าวต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๒๐ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒

    ข้อ ๓ ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ นายจ้างหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ต้องดำเนินการ ดังนี้
    ๑) ให้แจ้งกำหนดการ หลักสูตรการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร ต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการก่อนการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ อาจแจ้งเป็นเอกสารด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E – Service) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
    (๒) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด
    (๓) จัดให้มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมตามหลักสูตร
    (๔) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
    (๕) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
    (ก) ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยนิติบุคคลได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ใบอนุญาต เลขที่ …”

    ข้อ ๔ ผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกินสามสิบคน และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในภาคปฏิบัติ ต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน

    ข้อ ๕ ในการฝึกภาคปฏิบัติ         กรณีนายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ลูกจ้าง เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง
          กรณีนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติสถานที่ตั้งที่ได้รับอนุญาต
           ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
              (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
              (๒) มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศ
                   อาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
          วัตถุประสงค์
    เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองตามที่นายจ้างมอบหมาย

    หัวข้อฝึกอบรม
    ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง
    ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย สามสิบนาที
    จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาท
    ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาท
    ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
    ซ) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ฌ) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ญ) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง
    ฎ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
    ฏ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) สองชั่วโมง
    ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง
    (ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ค) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สามสิบนาที
    (ง) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    (จ) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ฉ) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    (ช) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    กลุ่มเป้าหมาย
    บุคลากรในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามที่นายจ้างมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  3 วัน (18 ชั่วโมง) อบรม 3 วันต่อเนื่อง 
    วิทยากร
    วิทยากรที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน
    การวัดผลอบรม
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ควบคุม

    หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ควบคุม

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๐ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด 

                                                        หมวด ๑ หลักเกณฑ์ และวิธีการฝึกอบรม

    ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้าง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และ ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
                  กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งได้ ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ นิติบุคคล ดังกล่าวต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๒๐ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒

    ข้อ ๓ ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ นายจ้างหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ต้องดำเนินการ ดังนี้
    ๑) ให้แจ้งกำหนดการ หลักสูตรการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร ต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการก่อนการจัดฝึกอบรม ทั้งนี้ อาจแจ้งเป็นเอกสารด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E – Service) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
    (๒) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด
    (๓) จัดให้มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมตามหลักสูตร
    (๔) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
    (๕) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
    (ก) ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยนิติบุคคลได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ใบอนุญาต เลขที่ …”

    ข้อ ๔ ผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกินสามสิบคน และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในภาคปฏิบัติ ต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน

    ข้อ ๕ ในการฝึกภาคปฏิบัติ         กรณีนายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ลูกจ้าง เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง

         กรณีนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติสถานที่ตั้งที่ได้รับอนุญาต

         ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
              (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
              (๒) มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศ
                   อาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
          วัตถุประสงค์
    เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองตามที่นายจ้างมอบหมาย

    หัวข้อฝึกอบรม
    ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมเก้าชั่วโมง
    ก)  กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ข)  ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ค )การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย สามสิบนาที
    จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที
    ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
    ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
    ซ) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว สามสิบนาที
    ฌ) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
    ญ) ทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย หนึ่งชั่วโมง
    ฎ) การควบคุมดูแล การใช้เครื่องป้องกัน อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
    ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
    (ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    (ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    (ค) เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    (ง) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    (จ) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    (ฉ) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
    กลุ่มเป้าหมาย
    บุคลากรในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามที่นายจ้างมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  2 วัน (12 ชั่วโมง) อบรม 2วัน ต่อเนื่อง 
    วิทยากร
    วิทยากรที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน
    การวัดผลอบรม
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

    หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๐ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

                                                              หมวด ๑ หลักเกณฑ์ และวิธีการฝึกอบรม
    ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้าง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และ ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

    กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งได้ ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ นิติบุคคล ดังกล่าวต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๒๐ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒

    ข้อ ๓ ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ นายจ้างหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ ต้องดำเนินการ ดังนี้ 
          (๑) ให้แจ้งกำหนดการ หลักสูตรการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร ต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการก่อนการจัดฝึกอบรม
              ทั้งนี้อาจแจ้งเป็นเอกสารด้วยตนเองหรือผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E – Service) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
         (๒) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนดนี้
         (๓) จัดให้มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมตามหลักสูตร
         (๔) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
         (๕) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
               (ก) ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยนิติบุคคลได้รับอนุญาตตาม
          มาตรา ๑๑ ใบอนุญาต เลขที่ …”

          ข้อ ๔ ผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกินสามสิบคน
          และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน
          
          ข้อ ๕ ในการฝึกภาคปฏิบัติ
             กรณีนายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ลูกจ้าง เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง

         กรณีนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ เป็นผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติสถานที่ตั้งที่ได้รับอนุญาต

          ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
           1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
           2. มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศ
              อาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    วัตถุประสงค์

    เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองตามที่นายจ้างมอบหมาย

    หัวข้อการอบรม

    ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมห้าชั่วโมง
    ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
    ง) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย สามสิบนาที
    จ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที
    ฉ) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
    ช) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ  และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
    ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง  (ก) เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
      (ข) เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
    กลุ่มเป้าหมาย
    บุคลากรในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามที่นายจ้างมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน  
    ระยะเวลาในการฝึกอบรม
    หลักสูตร  1  วัน (7 ชั่วโมง)
    วิทยากร

    วิทยากรที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน
      การวัดผลอบรม
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้น First Aid และการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ CPR 40 ท่าน/รุ่น อบรม Public 1,000 บาท / ท่าน

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้น First Aid และการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ CPR 40 ท่าน/รุ่น อบรม Public 1,000 บาท / ท่าน

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    การฝึกอบรมหลักสูตร “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น” เป็นหลักสูตรสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพนักงานทุกคน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ให้พ้นจากอันตรายก่อนนำส่งโรงพยาบาล โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต และ ได้แก่ การกระตุ้นหัวใจและการผายปอด การห้ามเลือด การปฐมพยาบาลบาดแผลทุกชนิด การปฐมพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารพิษ กระดูกหัก ภาวะฉุกเฉินทางจิต และการคลอดที่ฉุกเฉิน ตลอดจนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่พนักงานผู้ที่ปฏิบัติงานทุกคนเป็นอย่างมาก เน้นการอบรมและฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลที่สอดคล้องกับอุบัติเหตุที่พบบ่อยใน เพื่อให้บริษัทฯ ของท่านได้รับประโยชน์จากการอบรมอย่างสูงสุด
    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
    เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพก่อนนำส่งโรงพยาบาล
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถวิเคราะห์สถานการณ์และปฏิบัติการปฐมพยาบาลในภาวะฉุกเฉินต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

    หัวข้อการอบรม

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid)
    กายภาคและเสรีรวิทยา
    บาดแผล และการห้ามเลือด
    การปฐมพยาบาลภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน และการเข้าเผือกชั่วคราว
    โรคที่เกิดจากการทำงาน
    การสอนวิธีการจับงูและรับมือกับงูด้วยตัวเอง 
    การกู้ฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) พร้อมฝึกปฏิบัติกับหุ่นช่วยชีวิต
    กลุ่มเป้าหมาย

    หัวหน้างาน พนักงานของบริษัท ฯ และผู้สนใจทุกท่าน
    ระยะเวลาในการอบรม 

    หลักสูตร  1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    การวัดผล 

    ผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเข้าร่วมการอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการอบรม
    Pretest – Post test  

    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการกู้ฟื้นคืนชีพ
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้งาน รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ

    หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้งาน รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ เป็นเครื่องจักรที่อำนวยความสะดวกในการ ตัก เคลื่อนย้าย วัสดุ ดิน แทนการใช้กำลังคน แต่รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ ก็อาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน หากผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎระเบียบหรือคู่มือการทำงานที่แนบมากับรถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ และบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุมักเกิดจากเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น หรือโดยความไม่ได้ตั้งใจ การขาดความรู้ความชำนาญ ขับด้วย ความประมาท มองข้ามความเป็นอันตราย ความคึกคะนองของตัวพนักงานเอง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
            หลักสูตรการอบรมความปลอดภัยในการใช้งาน รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ   เป็นอีกหลักสูตรหนึ่ง ที่ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ ทักษะ จิตสำนึกการควบคุมอย่างปลอดภัยเพื่อลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และจิตสำนึกความปลอดภัยของพนักงานขับรถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ และลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการขาดทักษะในการควบคุมอย่างถูกวิธี

    วัตถุประสงค์
    เพื่อให้พนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจเช็คและบำรุงรักษารถ รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการขับรถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ ตามประเภทของงาน
    สามารถปฏิบัติงานโดยใช้รถ รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ ได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและมีประสิทธิ์ภาพ
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและเข้าใจสัญญาณมือ 

    หัวข้อการฝึกอบรม 
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ
    ประเภทของรถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ
    ความปลอดภัยในการใช้รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ
    หลักการตรวจเช็คและบำรุงรักษาประจำวัน
    การขับและควบคุมรถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ ตามประเภทของงาน
    ความปลอดภัยในการใช้งานรถขุด
    กรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุ
    สาธิตการขับขี่อย่างปลอดภัยทดสอบปฏิบัติจริง
    กลุ่มเป้าหมาย
    ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถ รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ และ ผู้เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถ รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ
    ช่างซ่อมบำรุง
    พนักงานขับรถ รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ
    ระยะเวลาในการอบรม 
    หลักสูตร 1 วัน   
    การวัดผล
    ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าเรียนครบ 100%
    ผ่านการทดสอบภาคปฏิบัติ 
    Pretest – Post  test     
    มีการลงทะเบียนก่อนการฝึกอบรมและมีการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมีการทำรายงานผู้ผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรมการใช้รถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถหน้าตักหลังขุด รถแบคโฮ
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี

  • หลักสูตร ทบทวนการขับรถยก Forklift และ จิตสำนึกความปลอดภัย

    หลักสูตร ทบทวนการขับรถยก Forklift และ จิตสำนึกความปลอดภัย

     ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    รถโฟร์คลิฟท์เป็นเครื่องจักรที่อำนวยความสะดวกในการ ยก เคลื่อนย้าย วัสดุสิ่งของ แทนการใช้กำลังคน แต่รถโฟร์คลิฟท์ก็อาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน หากผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎระเบียบหรือคู่มือการทำงานที่แนบมากับรถโฟร์คลิฟท์ และบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุมักเกิดจากเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น หรือโดยความไม่ได้ตั้งใจ การขาดความรู้ความชำนาญ ขับด้วย ความประมาท มองข้ามความเป็นอันตราย ความคึกคะนองของตัวพนักงานเอง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
            หลักสูตรการอบรมการขับรถโฟร์คลิฟท์ อย่างปลอดภัย และถูกวิธีนั้น เป็นอีกหลักสูตรหนึ่ง ที่ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ ทักษะ จิตสำนึกการควบคุมอย่างปลอดภัยเพื่อลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และจิตสำนึกความปลอดภัยของพนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์ และลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการขาดทักษะในการควบคุมอย่างถูกวิธี

    วัตถุประสงค์

    เพื่อให้พนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจเช็คและบำรุงรักษารถฟอร์คลิฟท์ Forklift ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
    สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ฟอร์คลิฟท์ Forklift  ได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและมีประสิทธิ์ภาพ

    หัวข้อการอบรม

    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564
    ความมั่นคงในการรับน้ำหนักของเครื่องจักรรถยก
    การอ่านตารางพิกัดยก และการประเมินน้ำหนักสิ่งของ
    การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบและการบำรุงรักษาเครื่องจักรรถยก
    การตรวจสอบประจำวัน
    การบำรุงรักษาตามระยะเวลา
    วิธีการขับและการใช้งานเครื่องจักรรถยก
    คุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานขับเครื่องจักรรถยก
    เทคนิควิธีการขับเครื่องจักรรถยก
    เทคนิควิธีการตักสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า และการวางสินค้า
    ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเลิกใช้เครื่องจักรรถยก
    ความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องจักรรถยก มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยและเครื่องหมายจราจร
    ทัศนคติและจิตสำนึกความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรรถยก
    กิจกรรมกลุ่มและกรณีศึกษาเรื่องการเกิดและวิธีป้องกันอุบัติเหตุของเครื่องจักรรถยก
    กลุ่มเป้าหมาย

    ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถยก ฟอร์คลิฟท์ Forklift และผู้เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถยกฟอร์คลิฟท์
    ช่างซ่อมบำรุง
    พนักงานขับรถยก FORKLIFT
    ระยะเวลาในการอบรม  

    หลักสูตร 1  วัน (09.00 – 16.00 น.) (6 ชั่วโมง)
    การวัดผล  

    ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผลการเข้าอบรม โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกาศผ่านการฝึกอบรม
    เนื้อหาการฝึกอบรม

     เนื้อหาการฝึกอบรมการใช้รถยก การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยก FORKLIF
    ทัศนคติและจิตสำนึกความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรรถยก
    การแต่งกายผู้เข้าอบรม 

    แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ 
    ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี